วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

แหล่งที่มา


ขอขอบคุณ สสวท ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

โทษของอินเทอร์เน็ต

โทษของอินเทอร์เน็ต
1.โรคติดอินเทอร์เน็ต(Webaholic)อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?หากการเล่นอินเทอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเทอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเทอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเทอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเทอร์เน็ต
รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเทอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ 2.เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
3.ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเทอร์เน็ต และระเบิดเวลาไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วยหนอนอินเทอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต

บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต ตามที่ได้อธิบายไปแล้วว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลกในแต่ละ เครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต ์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ท ี่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและ โปรแกรม ที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบ จะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. บริการด้านการสื่อสาร เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวด เร็วกว่าการติดต่อแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก
1)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้1. POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิก ในปัจจุบันนี้ 2. SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) 3. IMAP (Internet Message Access Protocol)4. MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)วิธีการทำงานของ POP3 POP3 จะมีหลักหารทั่วไปคล้ายๆกับหลักการรับและส่งของระบบไปรษณีย์ในปัจจุบัน คือในทันทีที่มีจดหมายมา ส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ)จดหมายฉบับนั้นก็จะค้าง อยู่ที่ๆทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุกเมื่อจดหมายถึง ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง('Pull' Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บรอการ (Client) มีความต้องการที่จะ ตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง เมล เซอเวอร์ และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเราPOP จะเป็นหารบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้อง การติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา วิธีการทำงานของ SMTPวิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบน Unix ซึ่ง เป็น โปรโต้คอลที่อาศัยวิธีการส่งจดหมายเป็นทอดๆระหว่างโฮสต์ ต่อๆกัน จนกว่าจะไปถึงโฮสปลายทาง สรุปคือ วิธีการนี้เป็นวิธีเก่า ถ้าไม่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รับเอาไว ้ตลอดเวลาก็จะไม่สามารถรับ จดหมายได้ และในปัจจุบันเครื่อง PC ส่วนบุคคลทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติ การUNIX และระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็ไม่รองรับไฟล์ในระบบ Unix นั่นก็หมายความว่า หากใช้เครื่อง PC ถึง จะเปิดเครื่องไว้ เครื่องนั้นก็ไม่สามารถใช้ไฟล์นั้นได้อยู่ดี ระบบนี้จึงเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนักวิธีการทำงานของ IMAPเป็น Protocol ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ POP3 แต่จะแก้ปัญหาของ POP3 ได้ดีขึ้นคือ POPจะมีวิธีการทำงานในลักษณะ "เก็บและส่งต่อ" (store-and-forward) ดังนั้นกระบวนการจัดการจดหมายต่างๆจึงยังไม่ดีมากพอ IMAP จะแตกต่าง จาก POP ในเรื่องของการตรวจสอบเมล์ ซึ่ง IMAP จะสามารถตรวจสอบเมล์ได้ 3 แบบคือ 1.offline access คือดึงเมล์ ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราและ ลบเมล์ออกจากเครื่อง server(ซึ่ง POP3 จะตรวจสอบด้วยวิธีนี้ และการใช้โปรแกรมดึงอีเมล์ (E-mail Client ) บางตัวเราสามารถสั่งให้เก็บจดหมายที่เราอ่านแล้วไว้ที่เครื่อง server ได้ 2.Online-access อ่านเมล์แบบออนไลน์โดยใช้เครื่องเราเป็นตัวอ่านเมล์ ส่วนตัวจดหมายก็อยู่ที่ server 3.Disconnected access คือการผสมระหว่าง 2 วิธีแรกคือ เราสามารถเลือกเมล์ที่ต้องการนำมาเก็บเครื่องเราก่อน ได้ โดยไม่ต้องดาวโหลดมาทั้งหมด ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าเราได้มีการลบเมล์ไปเท่าไหร่แล้ว โดย IMAP จะสามารถจดจำเอาไว้ได้ว่าเราได้ลบเมล์ฉบับไหนออกไปเมื่อมีการติดต่อกับ เซอร์เวอร์ในครั้งถัดไปจำนวน เมล์ในเครื่องเรากับเครื่องเซอร์เวอร์จะถูกปรับให้เข้ากันได้โดยอัติโนมัติ(คือการทำ Synchronized) ด้วยเทคนิค นี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบเมล์ได้จากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องโดยไม่สับสน(ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ โน๊ตบุค ก็จะให้ผลเหมือนกันซึ่งจะต่างจาก POP ที่ทำให้สับสนเมื่อตรวจเมล์จากหลายๆเครื่อง) ซึ่งเราสามารถสรุปจุดเด่นของ IMAP ได้ดังนี้1. IMAP สามารถให้บริการในรูปแบบ remote ได้ดีกว่า (คือการควบคุมการใช้เมล์จากเครื่องเราไปยัง Server ) เช่น อ่านเมล์แบบออนไลน์ แยกเมล์กับส่วนประกอบเอกสาร (Attachment)ออกจากกันได้ เราสามารถเลือกดาว โหลดจดหมายมาเก็บไว้เครื่องเรา โดยทิ้งส่วนประกอบเอกสารไว้ที่ Server เพื่อดาวโหลดในภายหลังหรือยามว่าง2. IMAP สนับสนุนโฟลเดอร์แบบลำดับชั้นและสามารถแบ่งโฟลเดอร์ให้ใช้งานร่วมกันได้(folder hierarchies and folder sharing) ในขณะที่ POP ไม่สามรถทำได้3. IMAP อณุญาติให้ทำการค้นหาจดหมายหรือบางส่วนของจดหมาย รวมทั้งเลือกจดหมายที่ต้องการจะนำมาเก็บ ไว้ที่เครื่องเราได้ (การค้นหานี้จะทำโดย server ไม่ใช่ Client) แต่ถึงยังไงก็แล้วแต่ IMAP protocol ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันโดยนักเล่นอินเทอร์เน็ตทั้งหลายยังคงใช้ POP กันอยู่เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้1. POP3 นั้นได้ติดตั้งอยู่ในโปรแกรมชิอดังที่มีความสามารถลูกเล่นแปลกใหม่ที่ได้รับความนิยมของ user ทั่ว ไปในขณะที่ IMAP นั้นยังไม่ค่อยมีโปรแกรมที่พัฒนามากนัก2. การใช้ IMAP นั้น จะต้องใช้ทรัพยากรของเครื่อง Server มากขึ้นทำให้เครื่องที่เป็น server ต้องทำงานหนักขึ้น อย่างมากจึงต้องเสียค่าบริการราคาแพง แต่ POP นั้นมีให้บริการฟรีทั่วไปในโลก Cyber space3. IMAP นั้นจะต้องใช้เวลาในการติดต่อนานกว่า เนื่องจากมีกิจกรรมที่จะต้องส่งข้อมูลระหว่าง Client กับ server เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกันซึ่งต่างกับ POP คือดึงข้อมูลมาแล้วก็หมดหน้าที่วิธีการทำงานของ MIMEเนื่องจากอีเมล์สมัยแรกที่เริ่มต้นในระบบอินเทอร์เน็ตจะมีค่าแค่เพิ่งเครื่งมือในการส่งข้อความสั้น โดยที่คุณ ไม่สามารถที่จะแนบเอกสารหรือรูปภาพที่คุณชอบส่งไปได้ จนกระทั่งได้มีการพัฒนา กำหนด Protocol ใหม่ที่ชื่อว่า MIME ซึ่งเป็มาตรฐานในการเข้ารหัสแฟ้มข้อมูลหลายชนิดไปรวมกับ E-Mail ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ม ีไฟล์ประเภทไหนที่ MIME ไม่รู้จัก เราจึงสามารถส่งไฟล์ทุกประเภทไปพร้อมกับ E-mail ได้ โดยมีวิธีการคือแปลง ไฟล์รูปภาพ เสียง วีดีโอ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ให้มาอยู่ในรูปแบบตัวอักษร MIME เป็นตัวมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อรองรับจุดประสงค์ที่หลากหลายจากการใช้งาน internet Mail ทั้งนี้เพื่อ ขยายประโยชน์ใช้สอบของอีเมล์ได้มากขึ้น แฟ้มข้อมูลมาตรฐาน MIMEสามารถใช้ร่วมกับการเก็บไฟล์ของส่งผ่าน ไปทางมาตรฐาน SMTP และ UUCP รวมถึง BitNet X.400 SNADS PROFS และยังมีความสามารถในการแลก เปลี่ยนข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ ที่ต่างกันแต่ชนิดของซอฟแวร์ที่ใช้ต่างกันได้อย่างน่าอัศจรรย์สรุปถึงแม้จะมี Protocol มากมายที่ใช้สำหรับอินเทอร์เน็ตเมล์ซึ่งแต่ละอันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียของตัวเอง ซึ่งโดย ทั่วไปก็จะใช้ POP3 ร่วมกับ SMTP โดยจะใช้ SMTP ในการส่งเมล์ออกไปยังปลายทางและใช้ POP ในการรับ เก็บจดหมาย E-mail เป็นมาตรฐานในการใช้ E-mail ในปัจจุบัน ซึ่งการใช้งานนี้ก็สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิดีแล้วในปัจจุบัน
2)สนทนาแบบออนลายน์ (Chat)
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนลายน ์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัย Protocol ช่วยในการติดต่ออีก Protocol นึงซึ่งมีชื่อว่า IRC(Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็น protocol อีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ 1.มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร ์คือคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อลองรับ User หลายคน2.เครื่องของเราจะทำหน้ามี่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แบบธรรมดาโดย ที่ไม่ต้องารทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้ พื้นฐานการทำงานของ IRCเมื่อเครื่องของเราสามรถติดต่อกับ Server ได้แล้ว server นั้นจะมีการแบ่งช่องสนทนาออกเป็นกลุ่มๆ(Channel) หรืออาจจะเรียกว่า ห้องสนทนาก็ได้โดยเมื่อเราเข้าสู่ server แล้วเราจะมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (Nickname) เมื่อเราพิมข้อความลงไปข้อความนั้นก็จะส่งผ่าน server และไปปรากฏยังเครื่อง Client ของสมาชิกแต่ละคนในห้องนั้น ไม่ใช่แค่ข้อความสั้นๆอย่างเดียวผู้ใช้ IRC ยังสามารถที่จะส่งไฟล์ภาพ เสียง วีดีโอ หรือไฟล์ทุกชนิดกันได้โดยตรง ในปัจจุบัน การเล่น IRC ไม่ได้มีแค่ข้อความธรรมเท่านั้น ยังมีการสนทนา ที่ใช้ protocol IRC เช่นเดียวกันอีกแต่ว่า เราสามารถที่จะสมมุติรูปร่างหน้าตา เสื้อผ้า ทำหน้าตายิ้มแย้ม โกรธ โดยอาจจำลองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือน VR (Virtual Realiity)ซึ่งจะเป็น ภาพ 3 มิติ เราสามรถที่จะเดินเข้าห้อง ออกจากห้อง จับมือ กับผู้ใช้คนอื่นได้ และอื่นๆ อีกมากมายได้ ซึ่งในปัจจบันก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจาก IRC เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างกล่าวคือเป็นใครก็ได้ที่จะเข้ามาร่วมก็ได้รวมทั้งไม่มีขีดจำกัดหรือกฏ เกณฑ์ใดๆมากมาย นัก เพราะฉนั้น IRC จึงเป็นศูนย์รวมที่สามารถรวบรวมผู้คนหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวัย อาชีพ ประสบการณ์ต่างๆมาไว้ได้อย่างกลมกลืน แต่ว่าแต่ละคนต่างก็มีความสนใจในการที่จะเข้าช่องสนทนาต่างๆกันไป
3."กระดานข่าว" หรือบูเลตินบอร์ดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด (คล้ายๆ กับระบบ Bulletin Board System หรือ BBS) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็นกลุ่มข่าวหรือ Newsgroup ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลปะ กลุ่มผู้สนใจ เพลงร็อค กลุ่มวัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ นอกจากนี้ก็มีกลุ่มที่สนใจในเรื่องของประเทศต่างๆ เช่นกลุ่ม Thai Group เป็นต้นการอ่านข่าวจาก Newsgroup การอ่านข่าวจากกลุ่มข่าวต่างๆ ใน Usenet (User Network) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Newsgroup นั้นนับเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผ ู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ในระดับโลก ซึ่งมักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารกัน ซึ่งใน Usenet นี้ เราสามารถเลือกอ่าน ข้อความในหัวข้อที่เราสนใจ และฝากข้อความ&ceiexcl;นั้นก็เลือกหัวข้อข่าวที่ต้องการ อ่านเพื่อแสดงเนื้อความของข่าวนั้นทั้งหมดบนจอภาพ ถ้าเราไม่สนใจในกลุ่มข่าวสารที่เคยเป็นสมาชิกอยู่อีกต่อไป เราาก็อาจยกเลิกการเป็นสมาชิก (Unsubscribe) ของกลุ่มข่าวนั้นและไปเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ แทนก็ได้ ารเป็นสมาชิกและการบอกเลิกสมาชิก ของกลุ่มข่าวต่างๆ นั้นรวมทั้งการใช้บริการ Usenet จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
บริการ Usenet จะมีการทำงานแบบ Client/Server ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะต้องไปขอใช้บริการจาก คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่เปิดให้บริการนี้อยู่ และเราต้องกำหนดชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเข้าไปใช้บริการ Usenet ให้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวทราบก่อนเสมอ จึงจะไปดึงชื่อของกลุ่มข่าว และหัวข้อข่าวมาให้เราได้ อย่างไร ก็ตาม Usenet เป็นบริการที่ค่อนข้างจะแพร่หลายอย่างหนึ่งในอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Usenet อยู่หลายพันแห่งทั่วโลก ทำให้การเข้าไปใช้บริการ Usenet ทำได้ไม่ลำบากมากนัก คอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ให้บริการ Usenet จะเชื่อมต่อกันและรับส่ง ข่าวสารกันด้วยวิธีที่เรียกว่า Network News Transfer Protocol (NNTP) ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของโปรโตคอล TCP/IP ที่เราใช้รับส่งข้อมูลกันอยู่ ในเครือข่ายของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง เมื่อเราดูจากชื่อของกลุ่มข่าวสารนั้น ก็พอจะทราบได้อ่านหัวข้อข่าวในกลุ่มจะพูดถึงเรื่องอะไร และเกี่ยวข้องกับอะไร ซึ่งกลุ่มข่าวสารทั้งหมดมีอยู่หลายพันกลุ่มในทุกเรื่องที่มีผู้สนใจ รูปแบบของ News Articles ส่วนคือ ส่วนหัวหรือ Header ส่วนเนื้อข่าวหรือ Body และ ส่วนลงท้ายหรือ Signature ซึ่งแต่ละส่วนที่ประกอบกันเป็น ข่าวสารนั้นจะมีความหมายดังนี้คือ ส่วนหัวหรือ Header จะบอกถึงข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้น เช่น ่าวนี้มาจากใคร, อยู่ในหัวข้อข่าวเรื่องอะไร, ส่งมาจากที่ไหนและเป็นข่าวลงวันที่เท่าไหร่ ส่วนเนื้อข่าวหรือ Body เป็นข้อความบรรยายในส่วนของข่าวนั้นๆ ซึ่งอาจมีความยาวของเนื้อข่าวเพียงบรรทัดเดียว หรือมีเนื้อข่าวยาวหลายๆ หน้าก็ได้ เนื้อข่าวจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อข่าวและกลุ่มข่าวสารที่ได้รับการจัดกลุ่มเอาไว้เสมอ ส่วนลงท้ายหรือ ที่เรียกว่า Signature ส่วนลงท้ายนี้จะบอกถึงรายละเอียดของผู้ส่งข่าวชิ้นนี้ เช่นอาจจะบอกชื่อ นามสกุล E-mail address และข้อความลงท้ายข่าวนั้นๆ เครื่องที่ให้บริการ Usenet นั้นจะมีการจัดการกับข่าวที่เข้ามา โดยเมื่อได้รับข่าวเข้ามา ใหม่ ก็จะใส่หมายเลขประจำข่าวนั้นให้ หมายเลขที่ว่านี้จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 จากของเดิมที่มีอยู่ในแต่ละกลุ่มข่าว เช่น กลุ่มข่าวชื่อ comp.answers มีหัวข้อข่าวอยู่ 1720 ชิ้น เมื่อได้รับข่าวใหม่เข้ามา ข่าวชิ้นนั้นจะได้รับหมายเลขประจำข่าว เป็น 1721 และเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเลขสูงสุดที่ตั้งเอาไว้ก็จะวนกลับไปใช้เบอร์ 1 ใหม่ ข่าวที่ได้รับเข้ามา จะมีกำหนดหมดอายุตามที่คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Usenet ผู้กำหนดเอาไว้ เมื่อข่าวนั้นหมดอายุก็จะถูกลบออกจาก กลุ่มข่าวและหมายเลขประจำข่าวนั้นก็จะว่างลง แต่หมายเลขที่ว่างลงนี้จะยังไม่ถูกนำไปใช้ จนกว่าจะมีการวนกลับไป ที่เลข 1 ใหม่ก่อน ทำให้บางครั้งเมื่อเราเรียกดูหัวข้อข่าวจากกลุ่มข่าวสารใน Usenet จะเห็นหมายเลขประจำข่าวอาจ เริ่มต้นจาก 845 ไปถึง 1720 ก็ได้ ซึ่งหมายความว่าข่าวตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 844 หมดอายุและถูกลบออกจากคอมพิวเตอร์ไปแล้ว
Telnet ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป ก็สามารถใช้บริการ Telnet เพื่อเข้าใช้งานเครื่องดังกล่าวได้เหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง โดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเหมือน จอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ โปรแกรม Telnet นับได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับ การใช้งานอินเทอร์เน็ตในแบบตัวอักษร หน้าที่ของโปรแกรม Telnet นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ โดยเมื่อเราทำการ Login เข้าไปยังคอมพิวเตอร ์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแล้ว จะใช้คำสั่ง Telnet นี้เพื่อเข้าไป Login เครื่องอื่นๆ ได้ต่อไป โดยไม่จำเป็น ต้องยกเลิกการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเสียก่อน ซึ่งเมื่อ Login ไปยังเครื่องอื่นๆ ได้ ก็สามารถ ไปเรียกใช้บริการต่างๆ บนเครื่องเหล่านั้นได้ด้วย ทำไมต้องใช้ Telnet? โดยทั่วไปของการติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น หลังจากที่เราสมัครเข้าเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการ (ISP) แล้ว เราจะได้รับรหัสที่จะใช้ในการ Login เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ของ ISP รายนั้นๆ ต่อจากนี้ถ้าหากเราต้อง การที่จะเข้าไปทำการ Login ต่อในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในเครือข่ายเราจะใช้คำสั่ง Telnet โดยระบุชื่อหรือแอด เดรสของคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง เราไม่จำเป็น ที่จะต้องใช้โมเด็มติดต่อโทรศัพท์ทางไกลไปยังต่างประเทศ เพียงแต่ Loginเข้าสู่คอมพิวเตอร์ต้นทางที่ต่ออยู่ในอินเทอร์เน็ตและใช้คำสั่ง Telnet เพื่อติดต่อผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ให้บริการ เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการ Telnet แก่ผู้ใช้ทั่วไปนั้น จะจัดเตรียมรหัส อินเทอร์เน็ตอย่าง กลางๆ ไว้ให้ผู้ใช้ทำการ Login เข้าไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น ระบบคอมพิวเตอร์ขององค์การการบินและอวกาศของสหรัฐ หรือ NASA ที่เรียกว่า NASA SPACELINK มีชื่อโดเมน spacelink.msfc.nasa.gov เมื่อผู้ใช้คำสั่ง Telnet จะสามารถ Login ด้วยรหัส guest (หมายถึง "แขกผู้มาเยือน") ซึ่งไม่ต้องมีรหัสผ่านหรือ Password เป็นต้น บางแห่งเมื่อใช้คำสั่ง Telnet ทำการ Login เข้าไปในระบบแล้วจะสามารถใช้บริการได้ทันทีโดยไม่ต้องคีย์รหัส Login เสียด้วยซ้ำไป ตัวอย่างเช่น books.com ฃึ่งเป็นบริการขายหนังสือ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถใช้คำสั่ง Telnet ติดต่อไปยัง books.com จากนั้นจะเข้าสู่ ระบบซึ่งจะให้บริการเป็นแบบ Bulletin Board ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบรายละเอียดต่างๆของหนังสือ รวมทั้งสั่งซื้อเล่ม ที่ต้องการได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ในการใช้บริการอื่นๆอีกหลายอย่างในอินเทอร์เน็ต เช่น Gopher, Archie, World Wide Web (WWW) และบริการอื่นๆก็สามารถใช้ผ่านคำสั่ง Telnet เพื่อ Login เข้าสู่บริการนั้นในคอมพิวเตอร์ปลาย ทางได้เช่นกัน นอกจากนี้ในกรณีที่เราใช้งานอินเทอร์เน็ตในแบบกราฟิกอยู่ และต้องการจะใช้งานในแบบตัวอักษรก็ สามารถใช้การ Telnet เข้าไปยังเครื่องที่ต้องการจำลองเป็นเทอร์มินัล เมื่อเรียกใช้บริการต่างๆแบบตัวอักษรได้ เช่นการ เปลี่ยนรหัสผ่านหรือ Password ซึ่งต้องใช้คำสั่ง passwd ของ Unix เป็นต้น ก็จะต้องอาศัยการ Telnet ไปที่โลคัลโฮสต์ของเราก่อนเช่นกัน
ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหรือหัวข้อใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ในอินเทอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของขอมูลนั้นๆเก็บข้อมูลเพื่อ เผยแพร่เอาไว้มากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษาค้นคว้าและเตรียมข้อมูลลงได้มาก และเปรียบเสมือน มีห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที 1)FTP (File Transfer Protocol)FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้ม ีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่างๆ ไว้ ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก จะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเทอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูลเหล่าน ี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า "คัดลอก" ก็เพราะในทางปฏิบัติจริงๆ แล้วไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทางเครื่อง ของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการ คัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่วๆ ไปบนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมกว่า เหมาะ กับระบบเครือข่ายที่ต่อกันในระยะไกลๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความ ผิดพลาดต่างๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN) โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Shareware และ Commercialware
Freewareหมายถึงโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้ผู้อื่นถ่ายโอนไฟล์ไปใช้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ผู้ที่ถ่ายโอนไฟล ์ไปสามารถให้ผู้อื่นถ่ายโอนไฟล์ต่อไปได้อีกเช่นกัน แต่จะต้องไม่นำโปรแกรมนั้นไปขายโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้พัฒนาทราบ Shareware หมายถึง ประเภทของโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อตั้งใจจะขาย โดยอนุญาตให้ผู้ที่สนใจถ่ายโอนไฟล์โปรแกรมไปลอง ใช้งานก่อนโดยที่ยังไม่ต้องจ่ายเงิน เมื่อใช้แล้วชอบและต้องการซื้อก็ค่อยจ่ายเงินภายหลังซึ่งมักจะมีราคาไม่สูง Commercial ware หมายถึง ประเภทของโปรแกรมที่เราจะต้องจ่ายเงินซื้อก่อนจึงจะได้โปรแกรมนั้นมาใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้มักจะมีเพียง รายละเอียดให้ดูได้ในอินเทอร์เน็ต ไม่มีโปรแกรมตัวอย่างให้ถ่ายโอนไฟล์ ส่วนใหญ่โปรแกรมทั่วไปที่มีผู้นิยมถ่ายโอนไฟล์มาใช้มักจะเป็นประเภท Shareware เพราะราคาถูก เราสามารถลอง ใช้งานได้ก่อนที่จะซื้อ และผู้พัฒนาจะพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่องมากกว่าโปรแกรมประเภท Freeware ดังนั้น Shareware จึงได้รับความนิยมมากในโลกของอินเทอร์เน็ต ในการใช้คำสั่ง FTP เพื่อทำการถ่ายโอนไฟล์ เราสามารถ ทำได้ทั้งในการใช้บริการแบบตัวอักษรและแบบกราฟิก ซึ่งการทำงาน 2 แบบนี้จะมีความแตกต่างอยู่บ้าง โดยที่การใช้ คำสั่ง FTP ในแบบตัวอักษรนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นพีซี แมคอินทอช หรือเครื่องแบบอื่นใดก็ตาม ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกรวมๆ ว่า "คอมพิวเตอร์ของเรา" หรือ Workstation ("เวิร์กสเตชั่น") จะทำหน้าที่เป็นเพียงจอ เทอร์มินัลจอหนึ่งบนเครื่องของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เราติดต่ออยู่เท่านั้น ซึ่งเครื่องของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในที่นี้จะขอเรียกว่าเป็น "เซิฟเวอร์ของเรา" หรือ Local Server ("โลคัลเซิฟเวอร์") หรือ Local Host ("โลคัสโฮสต์") ดังนั้นการใช้คำสั่ง FTP จะเป็นการโอนไฟล์จากเครื่องที่เป็น FTP Server ทางอีกฟากหนึ่งของอินเทอร์เน็ต หรืออาจ เรียกว่าเป็น Remote Server ("รีโมตเซิฟเวอร์") หรือ Remote Host ("รีโมตโฮสต์") มายังโลคัลเซิฟเวอร์เท่านั้น หากจะนำไฟล์เหล่านั้นมาใช้งานก็จะต้องทำการโอนไฟล์จากโลคัลเซิฟเวอร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอีกทอดหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องใช้โปรโตคอลหรือคำสั่งอื่นที่ไม่ใช่ FTP เช่น sz, kermit เพื่อส่งไฟล์และ z, kermit เพื่อรับไฟล์ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากับโลคัลเซิฟเวอร์ไม่ได้ต่อกันด้วยโปรโตคอลแบบ TCP/IP แต่ถ้าใช้บริการอินเตอร ์เน็ตแบบกราฟิก เช่นใช้โปรแกรม WS_FTP ที่ทาง hg จัดเตรียมไว้ให้แล้วนั้น เราจะสามารถโอนไฟล์ข้อมูลจาก รีโมตเซิฟเวอร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้โดยตรง และในทำนองเดียวกัน การโอนไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของเรา ไปยังรีโมตเซิฟเวอร์ใดๆ ในการใช้บริการแบบตัวอักษรก็จะต้องโอนไฟล์ไปพักไว้ที่โลคัลเซิฟเวอร์ก่อนแล้วค่อยโอน ไฟล์ด้วยวิธีการ FTP ไปยังรีโมตเซิฟเวอร์อีกชั้นหนึ่ง2) Archie ผู้ใช้บริการจะทำตัวเสมือนเครื่องลูกข่ายที่เรียกเข้าไปใช้บริการของ Archie Server ซึ่งจะเสมือนกับได้ดูว่าสถานที่ซึ่งม ีข้อมูลที่ตนต้องการอยู่ที่ใดก่อน จากนั้นจึงเรียกค้นไปยังสถานที่นั้นโดยตรงต่อไป3)Gopherเป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบตามลำดับชั้น ซึ่งมีเมนูให้ใช้งานได้สะดวก โปรแกรม Gopher นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นท ี่มหาวิทยาลัยมิเนโซตา านข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบเป็นฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่หลายแห่งแต่มีการเชื่อมโยงถึงกันเป็นขั้นๆ4)Hytelnet เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้หาชื่อโฮสต์และชื่อ Login พร้อมคำอธิบายโดยย่อของแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยการใช้งาน แบบเมนู เมื่อได้ชื่อโฮสต์ที่ต้องการแล้วก็สามารถเรียกติดต่อไปได้ทันที แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ของบริการ Hytelnet นี้มักจะเป็นชื่อที่อยู่ของห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลก5)WAIS (Wide Area Information Service) เป็นบริการที่มีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลและดัชนีสำหรับค้นหาข้อมูลจำนวนมากเอาไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการค้นหาเมื่อเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลนั้น และยังมีการเชื่อมโยงกันไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นอีกปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลแบบ WAIS ให้ค้นหาได้หลายที่
6)World Wide Web (WWW หรือ Web หรือ W3) เครือข่ายใยแมงมุมเมื่อสักประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกันว่า ประมาณการคร่าวๆ ว่ามีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 25 ล้านคน มีเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น ที่ใช้เวิร์ล-ไวด์-เวบ ประมาณการอันนี ้ดูจะถูกลบล้างโดยสิ้นเชิง จากการบันทึก จำนวนครั้ง (hit) ที่มีผู้เข้าใช้เวบไซท์ของ Netscape ผู้เป็นเจ้าพ่อของโปรแกรมอ่านเวบเพจ เพราะในช่วงประมาณต้น ปีที่ผ่านไปนี้ มีผู้เข้าใช้มากถึง 35 พันล้านครั้งต่อหนึ่งวัน และจากสถติที่มีผู้รวบรวมไว้ แม่ข่ายบริการเวบเพจ หรือท ี่เรียกว่าเวบไซท์นั้น มีมากถึง 10 ล้านแห่งเข้าไปแล้ว เห็นได้ชัดว่า บริการเวิร์ลไวด์เวบ กำลังเติบโตในอัตราเร่งสูงสุด ถ้าจะให้จัดลำดับ บริการเวิร์ลไวด์เวบ มีผู้ใช้บริการมากรองเป็นอันดับสอง จากบริการอีเมล์เท่านั้นเอง จะไม่ให้มีผู้ใช้งาน และให้บริการมากมายขนาดนี้ได้อย่างไร ก็เพราะ บริการทั้งข้อมูลข่าวสาร ที่แต่เดิม ทำกันบนแม่ข่าย Telnet (ผ่านทางเมนู Gopher) และบริการไฟล์ที่ทำกันบนแม่ข่าย FTP ล้วนแล้วแต่สามารถให้บริการบนเวิร์ลไวด์เวบ ในรูปแบบที่สวยงาม และเข้าใจง่ายกว่ากันมาก แถมบริการเวิร์ลไวด์เวบ ยังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จนกระทั่งสามารถ สื่อสารกันด้วยมัลติมิเดีย และแม้แต่วิดิโอเต็มจอภาพได้ในอนาคต และที่สำคัญ เครื่องพีซีที่เชื่อมเข้าระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต กลายเป็นหน่วยหนึ่ง ของเครือข่ายในทันที ไม่ใช่เครื่องรีโมท ที่ขอเข้าไปใช้งานหน้าจอเครื่องลูก นเครือข่ายยูนิกซ์เหมือนอย่างแต่ก่อน ซึ่งนั่นก็คือ เครื่องพีซีที่ใช้บริการเวิร์ลไวด์เวบนั้น สามารถติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายทั่วโลกได้โดยตรง ด้วยศักยภาพเครื่องของตนเอง และด้วยโปรแกรมที่เรียกใช้งาน ตามที่ตนชอบและถนัด ไม่ต้องพึ่งพา อาศัยโปรแกรม ในเครือข่ายยูนิกซ์อีกเลย เวบ (Web) ก่อกำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี คศ. 1990 ที่ CERN ณ European Particle Physics Laboratory ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปัจจุบัน มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า World Wide Web Consortium (W3C) คอยกำกับดูแลการเติบโตของเวบ Web Consortium ได้บัญญัติมาตรฐานขึ้นชุดหนึ่ง สำหรับการเพิ่มแม่ข่ายให้กับเวบ และเพื่อการสร้างหน้าจอของข่าวสาร ที่ปรากฏแก่สายตา ของผู้เข้าชมเวบ หน้าจอเหล่านี้เรียกว่า หน้าเอกสารหรือเพจ ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่มีรูปแบบเฉพาะ คือ HyperText Markup Language (HTML) โปรแกรมอ่านเวบเพจความจริงก็คือ โปรแกรมที่แปลผลรูปแบบของเอกสาร HTML และแปลผลคำสั่งที่บรรจุอยู่ ทั้งโปรแกรมอ่านเวบ และแม่ข่ายสื่อสารกัน ผ่านมาตรฐานอีกตัวหนึ่งคือ HyperText Transfer Protocol (HTTP) ซึ่งprotocol นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP เช่นกันWeb Consortium ได้ตีพิมพ์คุณลักษณะของ HTML และ HTTP ทำให้ทุกๆ คนบนอินเทอร์เน็ต สามารถสร้างเอกสารเวบได้อย่างสะดวกง่ายดาย การสร้างสิ่งพิมพ์เวบใหม่ที่ง่าย และเป็นแบบเปิดน ี้ ทำให้มีแหล่งข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ เอกสารเวบจำนวนมหาศาล และการเชื่อมโยงไปยังเครือ ข่ายมากมาย ถูกสร้างขึ้นจากสังคมอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่จากองค์การควบคุม Web แต่อย่างใด Hypertext และ HyperMedia ในเอกสาร HTML ฟีเจอร์ที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์เท็กซ์ เป็นวิธีการหนึ่งในการฝังการเชื่อมโยง จากหน้าเอกสารหนึ่งไปยังอีกเอกสารหนึ่ง การเชื่อมโยงเหล่านี้ แสดงอยู่ในโปรแกรมอ่านเวบเพจ บนวินโดวส์ด้วย คำที่มีสีโดดเด่นในหน้าเอกสาร โดยทั่วไป จะเป็นสีสว่างที่แตกต่างไปจากข้อความอื่นๆ เมื่อคลิกการเชื่อมโยง เอกสารหน้าอื่นก็จะปรากฏขึ้น และก็มีจุดเชื่อมโยงของมันเอง ปรากฏอยู่เพื่อเชื่อมไปยังเอกสารหน้าอื่นอีก บางครั้ง เราเรียกจุดเชื่อมเหล่านี้ว่า ฮอทลิงค์ หรือ ไฮเปอร์ลิงค์ ขณะที่เลื่อนตัวชี้เมาส์ ผ่านไปยังข้อความที่เป็นจุดเชื่อม รูปร่างของตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนไปเป็นรูปมือ เพื่อให้รู้ว่า คลิกที่ตรงนี้จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่น และ เมื่อกลับมาจากเอกสารหน้าที่เชื่อมไปถึง สีของข้อความจุดเชื่อมจะเปลี่ยนไปเป็นสีอื่น ที่ต่างไปจากเดิม เพื่อให้รู้ว่า จุดเชื่อมได้เคยเข้าไปชมมาแล้ว ทั้งนี้ เป็นผลพวงจากโปรแกรมอ่านเวบเพจตัวเก่งๆ ในปัจจุบัน การเชื่อมโยง ไปยังจุดอื่น บางครั้ง เป็นข้อความอีกตอนหนึ่งของหน้าเอกสารเดียวกัน ความสามารถนี้ เขาเรียกว่า เอนคอร์ เป็นการเชื่อมความหมาย ไปยังบางช่วงบางตอนของเอกสาร ที่มีความยาวค่อนข้างมาก ในระยะหลัง โดยเฉพาะ ตั้งแต่ปี คศ. 1993 เป็นต้นมา เมื่อโปรแกรมอ่านเวบเพจ ที่เป็นกราฟิกใช้งานกันแพร่หลายขึ้น จุดเชื่อมที่เป็น ไฮเปอร์เท็กซ์ ก็เริ่มมีการแต่งเติม ให้เป็นสื่อชนิดอื่น นอกเหนือจากข้อความ เช่น รูปภาพที่คลิกได้ เราเรียก จุดเชื่อมใหม่นี้ว่า ไฮเปอร์มีเดีย มันทำให้เอกสารเวบ กลายมาเป็นเอกสารกราฟิก และมัลติมิเดียโดยสมบูรณ์ เมื่อสื่อมีหลากหลายชนิดขึ้น เช่น ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดิโอ เป็นต้น ย่อมเป็นเรื่องยาก ที่จะหาฟอร์แมท มาตรฐาน สำหรับสื่อแต่ละชนิด ดังนั้น สื่อต่างๆ จึงมีฟอร์แมทหลากหลาย และนั่นหมายความว่า โปรแกรมอ่าน เวบเพจเอง ก็ต้องอาศัยโปรแกรมอ่านสื่อแต่ละชนิด ในการแปลผลสื่อต่างๆ ที่เชื่อมโยงเข้ามา โปรแกรมอ่าน เวบเพจ ทำงานในส่วนนี้ ได้โดยการเรียกใช้โปรแกรมอ่านไฟล์ (File Viewers) มาทำงาน หรือมิฉะนั้น ก็ผนวก เอาความสามารถ ในการอ่านไฟล์สื่อที่นิยมใช้ไว้ในตัวโปรแกรมเองเลยURL(Universal Resource Locators or Uniform Resource Locators ) ในโปรแกรมอ่านเวบเพจ ไม่ว่าตัวใด ต่างมีช่องให้เติมที่อยู่ของแหล่งข่าวสาร โดยมีรูปแบบของที่อยู่ที่เป็นสากล รู้จักกันในชื่อว่า URL ไม่ว่าแหล่งข่าวสารที่เป็นแม่ข่ายนั้น จะเป็นแม่ข่ายประเภทใด เช่น เวิร์ลไวล์เว็บ FTP, เมนู Gopher, นิวส์กรุ๊ปหรือ Telnet ก็สามารถเติมลงไปในช่อง URL เพื่อตรงไปหาได้ โดยที่อยู่ของแม่ข่ายต่างชนิดกัน จะมีรูปแบบขึ้นต้นต่างๆ กันไป แต่ที่เห็นได้ชัดก็คือว่า โปรแกรมอ่านเวบเพจนี้ ทำตัวเป็นหน้าฉากสำหรับเข้าไป ใช้บริการอื่นๆ เกือบทั้งหมดของอินเทอร์เน็ต โดยจะไปเรียกใช้โปรแกรม สำหรับบริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่เวิร์ลไวล์เว็บ ให้เอง เช่น Mail, News, FPT และ Telnet เป็นต้นURL ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วนดังต่อไปนี้ ชนิดของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (scheme) เช่น Web, FTP, Gopher, newsgroup เป็นต้น โดยมีคำขึ้นต้นในส่วนแรกนี้ดังนี้http สำหรับ Web ftp สำหรับ FTP gopher สำหรับ Gopher news สำหรับ Newsgroup โดยส่วนใหญ่ (สามรายการแรก) scheme จะต้องต่อท้ายด้วย :// เสมอ ยกเว้น news ให้ต่อท้ายด้วย : เท่านั้น เช่น news:rec.arts.theatre แอดเดรสแม่ข่าย (host) เป็นชื่อโดเมนของแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูล เช่น www.infonews.co.th พอร์ต (port) บางครั้ง หมายเลขพอร์ต อาจต้องระบุสำหรับแม่ข่ายบางแห่ง แต่ก็ไม่เสมอไป พาธ (path) หรือเส้นทางข้อมูล (ซับไดเรกทอรี) ความจริงแล้วก็คือ ชื่อของซับไดเรกทอรีของข้อมูลในเพจ ที่ต่อ มาจากโฮมเพจของเวบเพจนั้น รูปแบบมาตรฐานของ URL เป็นดังนี้ scheme://host:port/pathเช่น URL ชื่อ http://www.charnsak.co.th จะชี้ไปยังแม่ข่ายเวบ (http )ที่มีชื่อโดเมนว่า www.charnsak.co.th ถ้าเติมชื่อ URL นี้ลงในช่อง URL หรือ Address ในโปรแกรมอ่านเวบเพจ ก็จะตรงไปยังแหล่งข่าวสารของ Charnsak ในที่นี้ ไม่มีการระบุพอร์ต หรือพาธ คือเข้าไปที่โฮมเพจโดยตรงเลย โดย port มาตรฐานของ WWW คือ Port 80 อีกตัวอย่างหนึ่ง ftp://ftp.microsoft.com/win95/internet.doc จะดาวโหลดไฟล์ internet.doc จากไดเรกทอรี win95 บนแม่ข่าย FTP ของไมโครซอร์ฟ (ftp.microsoft.com) ชื่อใน URL ที่เป็นตัวใหญ่ และตัวตัวเล็กมีความหมายเฉพาะตัว ถ้าใส่ไม่ถูกต้องก็จะถูกฟ้องว่าหาไม่พบ เมื่อเข้าใจความหมายของ URL ตามนี้แล้ว ลองมาดูตัวเลขจำนวน URL ที่มีอย ู่ในขณะนี้ ซึ่งรวบรวมโดย Infoseek Ultra อันเป็น search engine ที่ดีที่สุดในขณะนี้ เท่าที่รวบรวมได้ล่าสุดนี้ มีชื่อ URL ที่ Infoseek Ultra รู้จักมากถึง 80 ล้านชื่อ แน่นอน ย่อมไม่ได้หมายความว่า มีเวบไซท์มากขนาดนั้น แต่แปลความได้ว่า มีข่าวสารแยกตามหัวข้อ หรือเพจได้มากขนาดนั้น คิดดูเอาเองก็แล้วกันว่า ถ้าต้องการอ่านข่าวสารทั้งหมด บนทางด่วน ข้อมูลสายอินเทอร์เน็ตนี้ จะต้องเกิดอีกกี่ชาติถึงจะพอ เครือข่ายใยแมงมุม การให้บริการข่าวสารเวิร์ลไวล์เว็บ ต่างจากบริการจากแม่ข่ายอื่นๆ ที่เคยกล่าวมา กล่าวคือ แต่ละแม่ข่าย มีข่าวสารข้อมูล ของตนเองเป็นสำคัญ และแม่ข่ายแต่ละแห่ง ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเลย คือไม่ต้องส่งข้อมูลให้ใคร และไม่ต้อง รับข้อมูลจากใครด้วย แต่ในหน้าเอกสารของแม่ข่ายเหล่านี้ หรือเรียกกันว่า เพจของเวบไซท์เหล่านี้ มีไฮเปอร์เท็กซ์ และไฮเปอร์มีเดีย ที่เป็นจุดเชื่อมโยงไปยังเวบไซท์อื่นๆ มากมาย และไซท์แต่ละแห่ง มักมีไฮเปอร์ลิงค์ ที่เชื่อมไปยังเวบไซท์ ที่ให้ข่าวสารในรูปแบบ และประเภทที่คล้ายคลึงกัน และเมื่อเราคลิกไฮเปอร์ลิงค์เหล่านั้น เข้าไปยังเวบไซท์ที่สนใจ ใ นเวบไซท์ใหม่ ก็จะมีไฮเปอร์ลิงค์อีกชุดหนึ่ง เพื่อเคลื่อนย้ายไปยังจุดอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต จะเห็นว่า มีการประสานเชื่อมต่อกัน เป็นตาข่ายในลักษณะที่เหมือนๆ กับใยแมงมุมจริงๆ และจึงเป็นที่มาของชื่อเวบ (Web) สำหรับบริการข่าวสารในแบบนี้ Home Page โฮมเพจ เป็นคำที่พูดกันมากในการใช้บริการเวิร์ลไวล์เว็บ ความจริง โฮมเพจมีความหมายที่ต่างกันอยู่สองอย่าง อย่างแรก โฮมเพจ หมายถึงหน้าแรกของเว็บไซท์แต่ละแห่ง จากหน้าโฮมเพจหน้าแรกนี้ เมื่อเราเชื่อมจากไฮเปอร์ลิงค ์ไปยังหน้าอื่นๆ ของเอกสารนี้ เมื่อต้องการกลับมาตั้งต้นใหม่ ในเอกสารหน้าหลังๆ มักมีไฮเปอร์เท็กซ์ที่เป็นข้อความทำนองว่า "กลับไปยังโฮมเพจ" ให้เลือกเพื่อกลับไปตั้งต้นที่หน้าแรกเสมอ ทำให้การใช้งานเวบเพจ มีความเป็นระเบียบและไม่หลงทาง อีกความหมายหนึ่งของโฮมเพจ ก็คือ หน้าแรกที่เป็นหน้าเริ่มต้น ของการเข้าสู่การใช้บริการเวิร์ลไวด์เว็บ บนอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator ตั้งโฮมเพจของตนเองไว้ที่ home.netscape.com ส่วน Internet Explorer ก็ตั้งโฮมเพจไว้ที่ www.microsoft.com และมีปุ่ม Home ไว้ให้กดเวลาต้องการกลับมาเริ่มต้นใหม่ อย่างไรก็ตาม โฮมเพจของโปรแกรมสามาร ถติดตั้ง ให้เป็นเวบไซท์ที่เราต้องการตั้งต้น เมื่อแรกใช้บริการเวิร์ลไวด์เว็บ ในแต่ละครั้งก็ได้ ซึ่งโฮมเพจนี้ อาจเป็นเพจท ี่เราเขียนขึ้นเอง เพื่อใช้เป็นจุดตั้งต้น ในการเชื่อมไปยังเวบไซท์อื่นๆ ที่ชื่นชอบก็ได้ หาแหล่งข้อมูลเวบได้จากที่ไหน แหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วโลก และมีข้อมูลจากหลากหลายสาขา หากไม่ทราบว่า ข่าวสารที่ต้อง การอยู่ที่แหล่งใด ก็เป็นการยากที่จะเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องการได้ในเวลาอันรวดเร็ว ในสมัยก่อน การค้นหาข้อมูลด้วยแหล่ง บริการอื่น บนโหมดเท็กซ์อาศัย Archie และ Veronica แต่ในปัจจุบัน การค้นหาแหล่งข้อมูล บนเครือข่ายใยแมงมุมนนี้ มีเวบไซท์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรชั้นยอด ในการค้นหาข้อมูลให้อย่างรวดเร็ว ชนิดที่ แทบไม่เชื่อสายตาตัวเองเลยก็แล้วกัน ยกตัวอย่าง search engine ที่กล่าวอ้างตนเองว่า ดีที่สุดในขณะนี้ คือ Infoseek Advanced Search ได้ติดตั้งแม่ข่ายที่เป็นเครื่อง ของ SUN ความเร็วสูง ใช้ซอร์ฟแวร์ค้นหาข้อความแบบ full text ที่มีความสามารถสูง ในขนาดที่แปลภาษาได้ในระดับหนึ่ง ทำให้การค้นหาตามข้อความ ที่ป้อนเข้ามา ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการ ได้มากที่สุด เช่น สามารถแยกแยะได้ว่า ข้อความที่ใช้ค้นเป็นชื่อคน หรือแยกชื่อกับนามสกุลที่เขียนติดกัน ออกโดยอัตโนมัติได้เอง มีความสามารถในการค้นคำด้วย บูลีน เช่น AND, OR, WITHOUT โดยใช้เป็นสัญญลักษณ์ +, - แทน ข้อความที่ใช้ค้นหานั้น ได้มาจากการทำดัชนีของคำในแบบ full text searching จากหน้าเอกสาร URL ที่เชื่อถือได้ 50 ล้านแห่ง (จากจำนวนทั้งหมด 80 ล้านแห่ง) การค้นหา สามารถค้นหาได้จากหน้าเอกสารทั้งหมด หรือค้นจากชื่อไซท์ ชื่อ URL หรือชื่อหัวเรื่องของหน้าเอกสารก็ได้ เมื่อได้ผลตอบรับจากการค้นหาแล้ว จะแสดงผล เป็นชื่อของเวบไซท์ที่มีข้อความที่ค้นหาตรงตามนั้น พร้อมข้อความขึ้นต้นย่อๆ สำหรับแหล่งข้อมูลนั้น การเข้าไปยังแหล่งที่ต้องการ ก็เพียงแต่คลิกลงไปที่ไฮเปอร์ลิงค์เท่านั้น ไม่มีเครื่องจักรค้นหาข้อมูลตัวไหน ที่สะดวกสบายเท่านี้อีกแล้ว ไม่ลองใช้วันนี้แล้วจะลองวันไหน ตัวอย่างเวบไซท์อื่น ที่ทำหน้าที่เป็นจักรกลในการค้นหาเช่นกัน ได้แก่ Excite, Lycos, Yahoo, Alta Vista เป็นต้น

ใครเป็นเจ้าของ อินเทอร์เน็ต


"ใครเป็นเจ้าของ อินเทอร์เน็ต"ในปัจจุบันหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับควบคุมดูแลทิศทางของอินเทอร์เน็ตโดยรวมคือ "สมาคมอินเทอร์เน็ต" (Internet Society) ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยทั้งผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไป รวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆภายใน สมาคมอีกทีหนึ่ง ในบรรดากลุ่มย่อยเหล่านี้ หลุ่มย่อยอันหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญคือ Internet Architecture Board หรือ IAB ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2526 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและในปัจจุบันเป็นผู้วาง มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ทำหน้าที่ค้นคว้า วิจัยสิ่งใหม่ เพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตในอนาคต

อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร?

อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร?รู้จักกับ TCP/IP โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้ จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512 ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่ง ก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบ ออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเทอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการ และโปรแกรม ที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประ จำตัวเอาไว้อ้างอิง ให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า "แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนด ใ ห้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ส่วนที่สองเรียกว่าหมายเลขของ คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบ อาจมีหมายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบการขอใช้บริการที่จะกล่าวต่อไป โครงสร้างของแอดเดรสที่ใช้ใน classต่างๆของเครือข่าย ซึ่งทั้งหมด ยาว 32 บิต IP Address นี้มีการจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับ (Class) แต่ที่ใช้งานในทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งก็แบ่งตามขนาดความใหญ่ ของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายใดมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร เชื่อมต่ออยู่มาก ก็จะมีหมายเลขอยู่ใน Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องต่ออยู่ลดหลั่นกันลงมาก็จะอยู่ใน Class B และ Class C ตามลำดับ หมายเลข IP ของ Class A มีตัวแรกเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และ มีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีคอมพิวเตอร ์เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ถึง 224= 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กร หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้ จะมีหมายเลข เครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าจะมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่แบบนี้ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 102) ดังนั้นจึงสามารถมีจำนวนเครือข่ายที่อยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = กว่า 16,000 เครือข่าย และก็สามารถม ีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือมากกว่า 65,000 เครื่อง สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วนสามบิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นใน แต่ละเครือข่าย Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องในแต่ละเครือข่าย (28 = 256 แต่หมายเลข 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254) ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่ายๆ ว่าเราเชื่อมต่ออยู่ที่เครือข่าย Class ใดก็สามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย Class A จะมี Network address ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (บิตแรกเป็น 0 เสมอ) Class B จะมี Network address ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น) Class C จะมี Network address ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น) เช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 181.11.82.22 ตัวเลข 181.11 แสดงว่าเป็นเครือข่ายใน Class B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ 2 ส่วนแรกคือ 181.11 และมีหมายเลขคอมพิวเตอร์คือ 82.22 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.131.10.101 ทำให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเชื่อมต่ออยู่ใน Class C มีหมายเลขเครือข่ายคือ 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.131.10 และหมายเลขประจำ เครื่องคือ 101 เป็นต้น

บริการต่างๆทางอินเทอร์เน็ต


กลไกการทำงานของ SLIP/PPP ทั้ง 2 Protocol จำเป็นต้องใช้เมือเราเชือมต่อโดยการใช้วิธี DialUP ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยจะต้องใช้เป็นตัวสื่อสารแบบใดแบบหนึ่งเพราะการที่เราจะเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้นั้นจำเป็น จะต้องมีหมายเลขอ้างอิงประจำตัว IP address ซึ่ง PPP และ SLIP จะเป้นตัวกำหนดให้เอง วิธีการทำงานจะมีดังนี้ 1.เมื่อผู้ใช้ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตจะต้องใช้ โปรแกรมประเภท TCP/IP Protocol Stack โปแกรมนี้จะใช้สำหรับหมุนเบอร์โทรศัพท์ไปยังเบอร์ของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ISP กำหนดไว้ 2.เมื่อเครื่องserver ของ isp ได้ตอบรับการติดต่อก็จะเชื่อมเครื่อข่ายของหน่วยงานดังกล่าวตามคำสั่งต่างๆ ที่ตั้งเป็นสคริปต์ไว้ล่วงหน้าแล้วในโปรแกรม Dial3.ในการเชื่อมต่อกันจะมีการส่งข้อมูลคำสั่งเชื่อมต่อ และเริ่มเข้าสู่การติดต่อโดยโปรโตคอล SLIP หรือ PPP ตามที่ได้กำหนดไว้ทั้งสองฝั่ง ในขั้นตอนนี้จะมีการส่งข้อมูลเช่น IP address ของผู้ขอใช้บริการ (ซึ่งมีความจริง จะถูกกำหนดขึ้นใหม่ในตอนนี้เอง) และDomain Name Server (DNS) address เป็นต้น4.หลังจากข้อมูลต่างๆ ได้รับส่งกันเสร็จสิ้นแล้วในขั้นตอนนี้จะถือได้ว่าเชื่อมต่อกันเสร็จแล้ว ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลในรูปแบบของ Internet Protocol (IP) Packet กันได้หรือพูดภาษาชาว บ้านว่าสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้แล้ว

เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร







เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร
1.อุปกรณ์
1.1)คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ ควรจะใช้เครื่องระดับ 486Xขึ้นไปแรม 16 เมกขึ้นไป1.2)โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine)โมเด็มคืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง (Impulse) ซึ่งสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ทั่วไป ได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล๊อกส่วนสัญญาณข้อมูลที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณ ดิจิตอลทำให้ต้องใช้ โมเด็มในการแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดืจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล๊อกซะก่อน โมเด็มสามรถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
1.3.1)โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกนำมาติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง รูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร ์ซับพายที่มันต่ออยู่ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลือง เนื้อที่ภายนอกใดๆเลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท ์ธรรมดา แบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย
1.3.2)โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS - 232C 1
.3.3)PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็น โมเด็มที่มีขนาดเล็ที่สุดคือ มีขนาดเท่าบัตรเครดิตรอละหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดย เฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆกับโมเด็มที่ติตตั้งภายนอกและภายในในปัจจุบันนี้โมเด็มม ีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps(Kilobyte per second)โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด
2.1)ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์์ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้หลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความเร็วมาก น้อยเพียงใดในการติดต่อรวมทั้งสถานที่ที่เราใช้เครื่องของเราด้วยว่าห่างไกลจากศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องที่แจกจ่ายข้อมูลและก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของ ผู้ใช้ว่าต้องการความเร็วหรือความสะดวก รวดเร็วมากน้อยเพียงใดด้วย ในปัจจุบันผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาจะ ต้องเสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตในอัตราที่ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าอัตราค่า บริการอินเทอร์เน็ตของบุคคลทั่ว ไปในประเทศไทยนี้สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ก็ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะถือว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็น คนร่ำรวยและ สามารถจ่ายค่าบริการจำนวนนี้ได้โดยไม่เดือดร้อน ทั้งนี้การเก็บค่าบริการอินเทอร์เน็ต นี้ยังคงเป็นการผูกขาดของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุม ดูแลการโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศทั้งหมด การสื่อสารฯได้รายได้จากการผูก ขาดนี้เป็นกอบเป็นกำ เหตุผลที่การสื่อสารมักจะอ้างก็คือว่า เนื่องจากผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตมีฐานะดี ดังนั้นจึงควรเก็บค่าบริการแพงๆเหมือนกับการเก็บภาษี กลายๆเพื่อเป็นทุนในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เหตุผลนี้ดูเหมือนจะมีน้ำหนัก พอสมควร แต่ถ้าพิจารณาว่า การใช้จ่ายเงินของภาครัฐฯไม่มีความโปร่งใสใดๆ ให้ตรวจสอบได้อย่างจริงจัง ก็ไม่น่าเชื่อว่าข้ออ้างดังกล่าว นี้เป็นความจริง นอก จากนี้การอ้างว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นผู้ร่ำรวยเท่านั้นยังเป็นการแบ่งชนชั้น วรรณะอย่างโจ่งแจ้ง และเท่ากับว่าคนอื่นๆที่ไม่ใช่คนรวยจะไม่มีวันสัมผัสกับ อินเทอร์เน็ตได้ ความคิด เช่นนี้ไม่เอื้อต่อการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปข้าง หน้าได้เป็นอย่างยิ่ง ย้อนมาพูดถึงเรื่องการติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้เรามีวิธีติดต่ออยู่สี่วิธีการติดต่อแบบถาวร หรือ Permanent Connection การติดต่อแบบนี้เป็นแบบที่รวดเร็วที่สุด แต่ก็ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากที่สุด ด้วยเช่นกัน ระบบเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet ซึ่งเป็นระบบฮาร์ดแวร ์ของเครือข่ายที่ใช้ กันมากที่สุด สายที่เชื่อมต่อจากแม่ข่ายมายังอาคารบรมฯนี้เป็นสายใยแก้วนำแสง ซึ่งให้ความเร็วข้อมูลสูงมาก การติดต่อโดยตรงเมื่อต้องการ หรือการติดต่อโดยตรงผ่านสายโทรศัพท์ (On Demand Permanent Connection)การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดถ้าเครื่องของเราไม่ได้ติดต่อโดย ตรงโดยเครือข่าย แบบ Ethernet วิธีการก็คือเราใช้สายโทรศัพท์ธรรมดาที่เราใช้กันอยู่เป็นเส้นทาง ในการเชื่อมโยงข้อมูลแทน การที่คอมพิวเตอร์ติดต่อกันโดยผ่านสายโทรศัพท์จำเป็น ที่จะต้องมีอุปกรณ ์อันหนึ่งเรีกว่า "โมเด็ม" (modem) ซึ่งทำหน้าที่แปรข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบดิจิตัล เป็นสัญญาณโทรศัพท์ซึ่งเป็นสัญญาณแบบ อนาล็อก และนอกจากโมเด็มแล้วก็จะต้องมีโปรแกรมพิเศษ อีกโปรแกรมหนึ่งเพื่อ ทำให้เครื่องของเราทำงานเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ตจริงๆ โปรแกรมนี้ก็เป็น ภาษาเครือข่ายบนอินเทอร์เน็ตอีกภาษาหนึ่ง เรียกว่า "PPP" ซึ่งย่อมาจาก Point-to-Point Protocol การ ใช้โปรแกรมนี้ทำให้เครื่องของเราสามารถทำงานได้ทุกอย่าง เช่นเดียว กับที่เครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องที่ ต่อกับแม่ข่ายด้วย Ethernet ทำได้ เพียงแต่ว่าสายโทรศัพท์ นั้นจะเท่ากับมีการพูดสายอยู่ตลอดเวลาที ่เราต่อกับระบบอยู่ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักจะเรียกการบริการแบบนี้ว่า "แบบรูปภาพ" หรือ Graphic Service เนื่องจากการติดต่อแบบนี้ทำให้เราสามารถดึงเอาข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือ เสียงมาดูหรือฟังได้โดยตรง การติดต่อแบบเทอร์มินัล (Dial-Up Terminal Connection)การใช้โปรแกรม PPP นี้จำเป็นต้องอาศัยเครื่อง ที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยเฉพาtอย่างยิ่งถ้าเราใช้โปรแกรมใหม่ๆสำหรับค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าเราไม่มี เครื่องแบบนั้น เราก็ยังไม่หมดหวังเสียทีเดียว เนื่องจากยังมีการติดต่ออีกวิธีหนึ่ง ได้แก่การติดต่อแบบเทอร์มินัล ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเร็วๆแต่อย่างใดเลย วิธีการนี้ก็คล้ายคลึงกับวิธีที่สองตรงที่เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร ์เข้ากับอินเทอร์เน็ตโดย ใช้โมเด็ม แต่แตกต่างกันที่ในการต่อแบบนี้เครื่องของเรามีฐานะเป็นเพียง จอ ของ เครื่องที่เราต่อไปหาเท่านั้น เครื่องของเราไม่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต แต่ประการใด แต่ในขณะ ที่เราใช้การติดต่อแบบนี้อยู่นั้น การประมวลผลของเครื่อง ไม่มีบทบาทอะไรเกี่ยวกับการติดต่อนี้เลย นอกจาก บทบาทเล็กน้อยเวลาเราถ่ายโอน ข้อมูลระหว่างเครื่องที่เราต่อไปหากับเครื่องของเราเท่านั้น โปรแกรมที่ใช้สำหรับ การติดต่อแบบนี้ก็เป็นโปรแกรมสั่งงานโมเด็มตามปกติ เช่น Procomm หรือ Terminal ใน Windows หรือ Zterm ในเครื่องแมคอินทอชการติดต่อแบบนี้ก็ทำให้เราสามารถติดต่อกับทุกๆส่วนของอินเทอร์เน็ตได้ เพียงแต่ว่า เราต้องใช้วิธีการบางอย่างเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอักษรมาเป็นไฟล์ที่ใช้งานได้ ศุนย์บริการอินเทอร์เน็ตมักเรียก การบริการแบบนี้ว่า "ตัวอักษรล้วนๆ" (Text only) เนื่อง จากการติดต่อมีแต่ทางตัวอักษรเท่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่สามารถดึงเอา การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection ) การติดต่อแบบนี้เป็นวิธีที่มีข้อจำกัดมากที่สุด แต่ก็ประหยัดทรัพยากรมากที่สุด ด้วย เช่นกัน วิธีนี้เกือบจะเหมือน กับแบบที่สาม ต่างกันเพียงแค่ว่าเราใช้บริการได้แต่เพียง จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ หรืออีเมล์ เท่านั้น ไม่สามารถใช้บริการอื่นๆบนอินเทอร์เน็ตได้ (เช่น การถ่ายโอนข้อมูล การสืบค้นข้อมูลบนเวิร์ลไวด์เว็บ ฯลฯ) บริการอย่างเดียวที่เรา ใช้ได้ก็คือจดหมายอิเล็คโทรนิคส์

ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย


ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่ - กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - มหาวิทยาลัยมหิดล - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต


ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์
กำเนิดอาร์พาเน็ต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติ การ SEX ( Sigma EXecutive )
สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940และระบบปฏิบัติการ Genie
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ OS/MVT
หาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex

เครือข่ายที่เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง นับเป็นจุดกำเนิดของอาร์พาเน็ตก่อนที่จะพัฒนาจน กระทั่งกลายเป็นอินเทอร์เน็ตในเวลาต่อมา อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเครือข่ายเชิงทดลองเพื่อ ศึกษาว่ารูปแบบเครือข่ายที่ใช้จะมี ความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด สามารถส่งผ่านข้อมูลได ้รวดเร็วเพียงใด โดยจุดประสงค์หลักแล้วอาร์พา ต้องการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการ ทหารที่มีคุณลักษณะเฉพาะ คือ แม้ว่าอมพิวเตอร์บางจุดในเครือข่ายจะหยุดทำงานหรือสายสื่อสา รบางเส้นทางถูกตัดขาด คอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือในเครือข่ายยังควรติดต่อสื่อสารถึงกันได้อยู่ นอกจากนี้ยังต้องสามารถต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่มี Hardware แตกต่างกันเข้าสู่ เครือข่ายได้ อาร์พาเน็ตเปิดตัวสู่สาธารณชนเป็นทางการครั้งแรกในงาน ICCC ( International Conference on Computers and Communications ) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ยุคของโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี หนึ่งปีให้หลังจากงาน ICCC อาร์พาเ ปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ดาร์พา" ( Defense AdvanceProject Agency ) และได้เริ่มงานวิจัยโครงการ ใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการต่อเชื่อมระหว่าง คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะรับส่งข้อมูลถึงกันได ้ย่อมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดวิธีการ สื่อสารถึงกัน ตัวอย่างของข้อตกลงในการสื่อสารมีดัง เช่น ลักษณะของข้อมูล ขนาดข้อมูลจะส่งถึงกันครั้งละ กี่ไบต์ชุดข้อมูลที่ส่งไปจะต้องมีข้อมูลอื่นส่ง ผนวกไปอย่างไรบ้าง หรือเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการรับส่งจะต้องตรวจสอบหรือดำเนิน การอย่างไรต่อไป ข้อตกลงระหว่างกันนี้เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า โปรโตคอล ( Protocol ) Protocol เป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อใช้ เป็นเกณฑ์ในการออก แบบโปรแกรมไม่ว่าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมี Hardware แตกต่างกันหรือไม่ก็ตาม หากว่าทำ งานตาม Protocolที่กำหนดแล้วสามารถสื่อสารถึงกันได้เสมอ Protocol ที่ใช้ในระยะต้นของอาร์พา เน็ตเป็น Protocol ที่เรียกว่า Network Control Protocol ซึ่ง Protocol นี้มีข้อจำกัดด้านรูปแบบของ การใช้สายสื่อสาร และจำนวนโฮสต์ที่จะเชื่อม ต่อเข้าด้วยกัน อาร์พาได้วางแผนการขยายเครือข่าย และเปิดการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอื่นการเชื่อมต่อระหว่าง เครือข่ายกับเครือข่ายต้องการ Protocol ซึ่งทำงานได้กับสายสื่อสาร และ Hardware หลากรูปแบบและสามารถรองรับโอสต์จำนวน มากได้ Protocol ซึ่งมีลักษณะตรงกับความต้องการในช่วง เวลาดังกล่าวได้แก่ Protocol TCP/IP ซึ่งย่อมาจาก Transmission Control Protocol / Internet Protocol ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ศูนย์ วิจัยซีรอกซ์แห่งพาโลอัลโต ( Xerox Palo Alto Research Center ) ได้พัฒนาระบบสื่อสารแบบส่ง ข้อมูลออกไปเป็นกลุ่ม และต่อมาได้พัฒนาไปเป็นระบบ แลนอีเธอร์เน็ต ( Ethernet Local Area Network ) ทั้ง TCP/IP และ ระบบ LAN นับเป็นแรงผลักดันให้ มีการขยายตัวของอาร์พาเน็ตอย่างรวดเร็ว TCP/IP และ UNIX ในปี พ.ศ. 2523 ดาร์พาตัดสินใจเลือกใช้ TCP/IP เป็น Protocol ของ อาร์พาเน็ตและเพื่อกระตุ้นให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยหันมาใช้ TCP/IP ด้วย ดาร์พาจึงว่าจ้างบริษัท BBN ทำหน้าที่พัฒนา Protocol TCP/IP สำหรับ UNIX ซึ่งแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของสหรัฐ ฯ UNIX รุ่นแรกที่มี TCP/IP ใช้ชื่อว่า 4.2BSD(Berkley Software Distribution ) ยุคแห่งการกำเนิด เครือข่าย ผู้ใช้อาร์พาเน็ตในขณะนั้นจำกัดอยู่แต่เพียงผู้ใช้ในหน่วยงานของกองทัพและหน่วยงาน เอกชนที่มีงานวิจัยด้านการทหารกับดาร์พาเท่านั้น ในขณะที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นอีกเป็น จำนวนมากต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต แต่ดาร์พามีขอบเขตการดำเนินงานเน้นทางด้านการทหาร จึงไม่สามารถให้เงินทุนสนับสนุนแก่หน่วยงานโดยทั่วไปได้ ทคโนโลยีของเครือข่ายที่มีต้นแบบมาจากอาร์พาเน็ตส่งผลให้มีการก่อตั้งเครือข่ายขึ้นอีกหลายเครือข่าย เครือข่ายของเอ็นเอสเอฟ เอ็นเอสเอฟเป็นหน่วยงานที่เล็งเห็นความสำคัญด้านเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่องานวิจัยจึงได้เตรียม แผนการขยายโอกาสการใช้เครือข่ายให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2523 เอ็นเอสเอฟ ได้จัดสรรงบประมาณสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ระยะแรกขึ้น 6 แห่ง และปีถัดมาได้ปรับ ปรุงเครือข่ายที่ที่ต่อเชื่อมศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ใหม่ โดยใช้ Protocol TCP/IP และให้ชื่อเครือข่ายว่า "เอ็นเอสเอฟเน็ต" ( NSFNET ) ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั้ง 6 แห่งประกอบด้วย
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ จอห์น วอน นอยมานน์ ( John von Neumann national; Super Computer Center :JVNNSC ) ในเมืองพรินเซตัน มลรัฐนิวเจอร์ซี
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซานดิเอโก ( San Diego Supercomputer Center : SDSC ) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประยุกต์แห่งชาติ ( National Center for Supercomputing Applications : NCSA ) มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติที่คอร์เนลล์ (Cornell National Supercomputing Facility : CNSF ) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์พิทสเบอร์ก ( Pittsburgh Supercomputer Center : PSC ) มหาวิทยาลัยพิทสเบอร์ก
แผนกวิทยาศาสตร์คำนวณแห่งศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติ ( The Scientific Computing Division of the National Center for Atmospheric Research : NCAR ) ที่เมืองบูลเดอร์ มลรัฐ โคโลราโด นักวิจัยที่ทำงานกับ NSFสามารถใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยและใช้บริการ เครือข่ายอื่น ๆ เช่น E-mail การถ่ายโอนแฟ้ม และการใช้ข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งปุจจุบันก็ยังเปิดให้บริการ ตามวัตถุประสงค์นี้อยู่
จากอาร์พาเน็ตสู่อินเทอร์เน็ตในระยะต้นของการพัฒนาเครือข่าย อาร์พาเน็ตเป็นเส้นทางสื่อสารหลักของเครือข่าย ที่เรียกว่า "สันหลัง" หรือ "Backbone" ภายในทวีป และในช่วงต่อมาจึงมีเครือข่ายอื่นเชื่อมต่อเข้ามา เช่น NSFnet และ เครือข่ายของ NASA เป็นต้น ชื่อที่ใช้เรียกเครือข่ายก็เปลี่ยนไปเป็นลำดับจาก อาร์พาอินเทอร์เน็ต เป็น เฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และยังเปลี่ยนไปเป็น TCP/IP Internet กระทั่งในที่สุดกลายมาเป็นชื่อที่ร ู้ จักในปัจจุบันว่า "อินเทอร์เน็ต" พัฒนาการต่อมา ในปลาย พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตถูกแบ่งแยกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการ วิจัยและเครือข่ายของกองทัพ เครือข่ายด้านงานวิจัยยังคงใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตอยู่เช่นเดิม ส่วนเครือข่ายของ กองทัพมีชื่อเรียกใหม่ว่า "มิลเน็ต" ( MILNET ) อาร์พาเน็ตให้บริการจนกระทั่งถึงจุดที่สมรรถนะของเครือข่ายไม่พอเพียงที่จะรับภาระการสื่อสาร หลักของอินเทอร์เน็ตอีกต่อไป ดาร์พาจึงได้ปลดระวางอาร์พาเน็ตลงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533 และเอ็นเอสเอฟเน็ตได้รับเป็นเส้นทางหลักของการสื่อสารแทน การเติบโตของอินเทอร์เน็ต ในช่วงหนึ่งปีให้หลังของการเปลี่ยนมาใช้ TCP/IP มีจำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ต รวมกัน 213 โฮสต ์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 1,024 โฮสต์ และในเดือน มกราคมปี พ.ศ.2536 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นไปกว่า 1,000,000 โฮสต์ แต่ละวันจะ มีโฮสต์เพิ่มเข้าสู่ระบบและมีผู้ใช้รายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนโฮสต์โดยประมาณภายใน อินเทอร์เน็ตนับจากปี พ.ศ. 2524 ถึง 2537 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบเอ๊กโปเนนเชียล นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จำนวนโฮสต์ในอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัวในทุก ๆ ปี และยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ไม่หยุดยั้ง จำนวนโฮสต์โดยประมาณใน พ.ศ. 2538 คาดว่ามีราวหกล้านเครื่อง หากประเมินว่าโฮสต ์หนึ่งมีผู้ใช้เฉลี่ย 5-8 ราย จะประมาณว่า มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอยู่กว่า 30 ล้านคน การขยายตัว ของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันอยู่ในอัตรา 10-15 % ต่อเดือน

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

อินเทอร์เน็ตคืออะไร


อินเทอร์เน็ตคืออะไร?
เราอาจให้ความหมายได้ว่าอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่ความจริง แล้วอินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายของเครือข่าย เพราะ อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้ มาตรฐานเดียวกันจนเป็น สังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ตทุก เครื่องใช้มาตรฐาน
TCP/IP เดียวกันหมด อินเทอร์เน็ตสำคัญอย่างไร หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology) หรือเรียกโดยย่อว่า " ไอที" ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บ รวบรวม เรียกใช้ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้อง ใช้สำหรับงานไอที คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคม ตลอดจนโครงสร้าง พื้นฐานด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอที หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล ข่าวสารในการทำงานประจำวันอินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำ ให้เราเข้าถึงข้อมูล ได้ในเวลาอันรวดเร็วข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ทั่วโลกที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน อินเทอร์เน็ตจึงเป็น แหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่นๆของโลกได้อย่าง รวดเร็ว กว่าสื่ออื่นๆ อินเทอร์เน็ตเป็น แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวมทั้งบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าว ได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
อินเตอร์เน็ตและเวิลด์ ไวด์ เว็บ อินเตอร์เน็ต (internet) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า Net หรือ Information Superhighway หรือ Cyberspaces อินเตอร์เน็ต ประกอบด้วยเครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เครือข่ายเป็นที่รวบรวมคอมพิวเตอร์จำนวนมากมายที่เกี่ยวข้องกันโดยใช้สารสนเทศร่วมกัน รัฐบาล บริษัท และองค์การต่างๆ จะตอบสนองด้วยเครือข่ายของตัวมันเอง สารสนเทศส่วนใหญ่บนอินเตอร์เน็ตจะบริการให้เปล่า รัฐบาลมหาวิทยาลัย วิทยาลัย บริษัทต่างๆ แต่ละแห่งทั่วโลก ได้จัดสารสนเทศให้เปล่าเพื่อการศึกษาและความบันเทิงของสาธารณะชน ถ้าส่วนหนึ่งของอินเตอร์เน็ตล้มเหลว สารสนเทศจะพบเส้นทางใหม่รอบคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถดำเนินการต่อไป เริ่มแรกคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นอินเตอร์เน็ต ได้เชื่อมต่อกับรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาและสถาบันของเครือข่ายป้องกันประเทศ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างวิธีการที่เชื่อถือได้สำหรับแพร่กระจายสารสนเทศในเหตุการณ์เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินของชาติ ในไม่ช้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เข้าร่วมกับอินเตอร์เน็ต เนื่องจากบุคคลต่างๆ ได้รับแรงกระตุ้นอย่างมากเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของระบบใหม่ สำหรับใช้สารสนเทศร่วมกันและการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ของอินเตอร์เน็ตใหม่เหล่านี้ ได้แก่ วิทยาลัยหลักๆ มหาวิทยาลัยต่างๆ และสถาบันวิจัยทั่วโลก ขณะนี้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหม่กำลังเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน เร็วๆ นี้ อินเตอร์เน็ตใหม่เป็นร้อยๆ จะเข้าถึงการเชื่อมโยงกับสารสนเทศทั่วไปในราคาต่ำ และการบริการออนไลน์ (online) ของธุรกิจหลัก ขณะนี้ได้ช่วยให้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงลูกค้าทั้งหมดได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วมาก
ใครเป็นผู้ดูแลอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อเข้าเป็นอินเทอร์เน็ตอาศัยการบริหารแบบกระจายอำนาจอินเทอร์เน็ตจึงไม่มีใครเป็น เจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริงเครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเองอย่าง เป็นอิสระโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อต่อเชื่อมเข้าด้วยกันแต่ในทาง ปฏิบัติแล้วอินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือ ระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ ISOC หรือ สมาคมอินเทอร์เน็ต ( Internet Society ) ISOCเป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรและมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน อย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOCยังทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อใช้ ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัครร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติ แต่ไม่มีหน้าที่ดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด


Free Blogspot Templates by Isnaini Dot Com and Bridal Dresses 2009.