วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต

บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต ตามที่ได้อธิบายไปแล้วว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลกในแต่ละ เครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต ์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ท ี่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและ โปรแกรม ที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบ จะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. บริการด้านการสื่อสาร เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวด เร็วกว่าการติดต่อแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก
1)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคน ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวกมาก โดย E-mail จะมีหลักการทำงานดังนี้1. POP3 (Post Office Protocol) ซึ่งในปัจจุบันเป็น protocol มาตรฐานที่ใช้สำหรับรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิก ในปัจจุบันนี้ 2. SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) 3. IMAP (Internet Message Access Protocol)4. MIME (Multipurpose Internet Mail Extension)วิธีการทำงานของ POP3 POP3 จะมีหลักหารทั่วไปคล้ายๆกับหลักการรับและส่งของระบบไปรษณีย์ในปัจจุบัน คือในทันทีที่มีจดหมายมา ส่งที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง (โดยทั่วไปคือ Mail server ของ ISP หรือ องค์กรต่างๆ)จดหมายฉบับนั้นก็จะค้าง อยู่ที่ๆทำการฯ ไปจนกว่าจะมีคนมาติดต่อขอรับมัน ด้วยวิธีการนี้ภาระของผู้ส่งจดหมายจะสิ้นสุกเมื่อจดหมายถึง ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทาง(ซึ่งก็เปรียบเสมือนโฮสต์ที่ทำหน้าที่เก็บจดหมายของผู้ใช้ปลายทาง) POP3 จะเป็น Protocol แบบดึง('Pull' Protocol) เมื่อใดก็ตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้บรอการ (Client) มีความต้องการที่จะ ตรวจสอบข้อความ มันจะทำการเชื่อมต่อไปยัง เมล เซอเวอร์ และจะใช้ POP เพื่อ Login เข้าปยังตู้รับจดหมาย (Mailbox) แล้วดึงจดหมายนั้นมาไว้ในเครื่องเราPOP จะเป็นหารบริการที่เหมาะสมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ต้อง การติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตทางโทรศัพท์ เพราะว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราจะรับ E-mail ไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อม ต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา วิธีการทำงานของ SMTPวิธีการนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันบน Unix ซึ่ง เป็น โปรโต้คอลที่อาศัยวิธีการส่งจดหมายเป็นทอดๆระหว่างโฮสต์ ต่อๆกัน จนกว่าจะไปถึงโฮสปลายทาง สรุปคือ วิธีการนี้เป็นวิธีเก่า ถ้าไม่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รับเอาไว ้ตลอดเวลาก็จะไม่สามารถรับ จดหมายได้ และในปัจจุบันเครื่อง PC ส่วนบุคคลทั้งหลายก็ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติ การUNIX และระบบปฏิบัติการที่ใช้ก็ไม่รองรับไฟล์ในระบบ Unix นั่นก็หมายความว่า หากใช้เครื่อง PC ถึง จะเปิดเครื่องไว้ เครื่องนั้นก็ไม่สามารถใช้ไฟล์นั้นได้อยู่ดี ระบบนี้จึงเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าใดนักวิธีการทำงานของ IMAPเป็น Protocol ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ POP3 แต่จะแก้ปัญหาของ POP3 ได้ดีขึ้นคือ POPจะมีวิธีการทำงานในลักษณะ "เก็บและส่งต่อ" (store-and-forward) ดังนั้นกระบวนการจัดการจดหมายต่างๆจึงยังไม่ดีมากพอ IMAP จะแตกต่าง จาก POP ในเรื่องของการตรวจสอบเมล์ ซึ่ง IMAP จะสามารถตรวจสอบเมล์ได้ 3 แบบคือ 1.offline access คือดึงเมล์ ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่เครื่องเราและ ลบเมล์ออกจากเครื่อง server(ซึ่ง POP3 จะตรวจสอบด้วยวิธีนี้ และการใช้โปรแกรมดึงอีเมล์ (E-mail Client ) บางตัวเราสามารถสั่งให้เก็บจดหมายที่เราอ่านแล้วไว้ที่เครื่อง server ได้ 2.Online-access อ่านเมล์แบบออนไลน์โดยใช้เครื่องเราเป็นตัวอ่านเมล์ ส่วนตัวจดหมายก็อยู่ที่ server 3.Disconnected access คือการผสมระหว่าง 2 วิธีแรกคือ เราสามารถเลือกเมล์ที่ต้องการนำมาเก็บเครื่องเราก่อน ได้ โดยไม่ต้องดาวโหลดมาทั้งหมด ที่สำคัญเราสามารถรู้ได้ว่าเราได้มีการลบเมล์ไปเท่าไหร่แล้ว โดย IMAP จะสามารถจดจำเอาไว้ได้ว่าเราได้ลบเมล์ฉบับไหนออกไปเมื่อมีการติดต่อกับ เซอร์เวอร์ในครั้งถัดไปจำนวน เมล์ในเครื่องเรากับเครื่องเซอร์เวอร์จะถูกปรับให้เข้ากันได้โดยอัติโนมัติ(คือการทำ Synchronized) ด้วยเทคนิค นี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบเมล์ได้จากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องโดยไม่สับสน(ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องจากที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ โน๊ตบุค ก็จะให้ผลเหมือนกันซึ่งจะต่างจาก POP ที่ทำให้สับสนเมื่อตรวจเมล์จากหลายๆเครื่อง) ซึ่งเราสามารถสรุปจุดเด่นของ IMAP ได้ดังนี้1. IMAP สามารถให้บริการในรูปแบบ remote ได้ดีกว่า (คือการควบคุมการใช้เมล์จากเครื่องเราไปยัง Server ) เช่น อ่านเมล์แบบออนไลน์ แยกเมล์กับส่วนประกอบเอกสาร (Attachment)ออกจากกันได้ เราสามารถเลือกดาว โหลดจดหมายมาเก็บไว้เครื่องเรา โดยทิ้งส่วนประกอบเอกสารไว้ที่ Server เพื่อดาวโหลดในภายหลังหรือยามว่าง2. IMAP สนับสนุนโฟลเดอร์แบบลำดับชั้นและสามารถแบ่งโฟลเดอร์ให้ใช้งานร่วมกันได้(folder hierarchies and folder sharing) ในขณะที่ POP ไม่สามรถทำได้3. IMAP อณุญาติให้ทำการค้นหาจดหมายหรือบางส่วนของจดหมาย รวมทั้งเลือกจดหมายที่ต้องการจะนำมาเก็บ ไว้ที่เครื่องเราได้ (การค้นหานี้จะทำโดย server ไม่ใช่ Client) แต่ถึงยังไงก็แล้วแต่ IMAP protocol ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบันโดยนักเล่นอินเทอร์เน็ตทั้งหลายยังคงใช้ POP กันอยู่เนื่องจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้1. POP3 นั้นได้ติดตั้งอยู่ในโปรแกรมชิอดังที่มีความสามารถลูกเล่นแปลกใหม่ที่ได้รับความนิยมของ user ทั่ว ไปในขณะที่ IMAP นั้นยังไม่ค่อยมีโปรแกรมที่พัฒนามากนัก2. การใช้ IMAP นั้น จะต้องใช้ทรัพยากรของเครื่อง Server มากขึ้นทำให้เครื่องที่เป็น server ต้องทำงานหนักขึ้น อย่างมากจึงต้องเสียค่าบริการราคาแพง แต่ POP นั้นมีให้บริการฟรีทั่วไปในโลก Cyber space3. IMAP นั้นจะต้องใช้เวลาในการติดต่อนานกว่า เนื่องจากมีกิจกรรมที่จะต้องส่งข้อมูลระหว่าง Client กับ server เพื่อปรับเปลี่ยนข้อมูลให้ตรงกันซึ่งต่างกับ POP คือดึงข้อมูลมาแล้วก็หมดหน้าที่วิธีการทำงานของ MIMEเนื่องจากอีเมล์สมัยแรกที่เริ่มต้นในระบบอินเทอร์เน็ตจะมีค่าแค่เพิ่งเครื่งมือในการส่งข้อความสั้น โดยที่คุณ ไม่สามารถที่จะแนบเอกสารหรือรูปภาพที่คุณชอบส่งไปได้ จนกระทั่งได้มีการพัฒนา กำหนด Protocol ใหม่ที่ชื่อว่า MIME ซึ่งเป็มาตรฐานในการเข้ารหัสแฟ้มข้อมูลหลายชนิดไปรวมกับ E-Mail ผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ม ีไฟล์ประเภทไหนที่ MIME ไม่รู้จัก เราจึงสามารถส่งไฟล์ทุกประเภทไปพร้อมกับ E-mail ได้ โดยมีวิธีการคือแปลง ไฟล์รูปภาพ เสียง วีดีโอ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ให้มาอยู่ในรูปแบบตัวอักษร MIME เป็นตัวมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อรองรับจุดประสงค์ที่หลากหลายจากการใช้งาน internet Mail ทั้งนี้เพื่อ ขยายประโยชน์ใช้สอบของอีเมล์ได้มากขึ้น แฟ้มข้อมูลมาตรฐาน MIMEสามารถใช้ร่วมกับการเก็บไฟล์ของส่งผ่าน ไปทางมาตรฐาน SMTP และ UUCP รวมถึง BitNet X.400 SNADS PROFS และยังมีความสามารถในการแลก เปลี่ยนข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ ที่ต่างกันแต่ชนิดของซอฟแวร์ที่ใช้ต่างกันได้อย่างน่าอัศจรรย์สรุปถึงแม้จะมี Protocol มากมายที่ใช้สำหรับอินเทอร์เน็ตเมล์ซึ่งแต่ละอันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียของตัวเอง ซึ่งโดย ทั่วไปก็จะใช้ POP3 ร่วมกับ SMTP โดยจะใช้ SMTP ในการส่งเมล์ออกไปยังปลายทางและใช้ POP ในการรับ เก็บจดหมาย E-mail เป็นมาตรฐานในการใช้ E-mail ในปัจจุบัน ซึ่งการใช้งานนี้ก็สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิดีแล้วในปัจจุบัน
2)สนทนาแบบออนลายน์ (Chat)
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนลายน ์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัย Protocol ช่วยในการติดต่ออีก Protocol นึงซึ่งมีชื่อว่า IRC(Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็น protocol อีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ 1.มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร ์คือคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อลองรับ User หลายคน2.เครื่องของเราจะทำหน้ามี่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แบบธรรมดาโดย ที่ไม่ต้องารทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้ พื้นฐานการทำงานของ IRCเมื่อเครื่องของเราสามรถติดต่อกับ Server ได้แล้ว server นั้นจะมีการแบ่งช่องสนทนาออกเป็นกลุ่มๆ(Channel) หรืออาจจะเรียกว่า ห้องสนทนาก็ได้โดยเมื่อเราเข้าสู่ server แล้วเราจะมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (Nickname) เมื่อเราพิมข้อความลงไปข้อความนั้นก็จะส่งผ่าน server และไปปรากฏยังเครื่อง Client ของสมาชิกแต่ละคนในห้องนั้น ไม่ใช่แค่ข้อความสั้นๆอย่างเดียวผู้ใช้ IRC ยังสามารถที่จะส่งไฟล์ภาพ เสียง วีดีโอ หรือไฟล์ทุกชนิดกันได้โดยตรง ในปัจจุบัน การเล่น IRC ไม่ได้มีแค่ข้อความธรรมเท่านั้น ยังมีการสนทนา ที่ใช้ protocol IRC เช่นเดียวกันอีกแต่ว่า เราสามารถที่จะสมมุติรูปร่างหน้าตา เสื้อผ้า ทำหน้าตายิ้มแย้ม โกรธ โดยอาจจำลองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือน VR (Virtual Realiity)ซึ่งจะเป็น ภาพ 3 มิติ เราสามรถที่จะเดินเข้าห้อง ออกจากห้อง จับมือ กับผู้ใช้คนอื่นได้ และอื่นๆ อีกมากมายได้ ซึ่งในปัจจบันก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจาก IRC เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างกล่าวคือเป็นใครก็ได้ที่จะเข้ามาร่วมก็ได้รวมทั้งไม่มีขีดจำกัดหรือกฏ เกณฑ์ใดๆมากมาย นัก เพราะฉนั้น IRC จึงเป็นศูนย์รวมที่สามารถรวบรวมผู้คนหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวัย อาชีพ ประสบการณ์ต่างๆมาไว้ได้อย่างกลมกลืน แต่ว่าแต่ละคนต่างก็มีความสนใจในการที่จะเข้าช่องสนทนาต่างๆกันไป
3."กระดานข่าว" หรือบูเลตินบอร์ดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด (คล้ายๆ กับระบบ Bulletin Board System หรือ BBS) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็นกลุ่มข่าวหรือ Newsgroup ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลปะ กลุ่มผู้สนใจ เพลงร็อค กลุ่มวัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ นอกจากนี้ก็มีกลุ่มที่สนใจในเรื่องของประเทศต่างๆ เช่นกลุ่ม Thai Group เป็นต้นการอ่านข่าวจาก Newsgroup การอ่านข่าวจากกลุ่มข่าวต่างๆ ใน Usenet (User Network) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Newsgroup นั้นนับเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผ ู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่นๆ ในระดับโลก ซึ่งมักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารกัน ซึ่งใน Usenet นี้ เราสามารถเลือกอ่าน ข้อความในหัวข้อที่เราสนใจ และฝากข้อความ&ceiexcl;นั้นก็เลือกหัวข้อข่าวที่ต้องการ อ่านเพื่อแสดงเนื้อความของข่าวนั้นทั้งหมดบนจอภาพ ถ้าเราไม่สนใจในกลุ่มข่าวสารที่เคยเป็นสมาชิกอยู่อีกต่อไป เราาก็อาจยกเลิกการเป็นสมาชิก (Unsubscribe) ของกลุ่มข่าวนั้นและไปเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ แทนก็ได้ ารเป็นสมาชิกและการบอกเลิกสมาชิก ของกลุ่มข่าวต่างๆ นั้นรวมทั้งการใช้บริการ Usenet จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
บริการ Usenet จะมีการทำงานแบบ Client/Server ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะต้องไปขอใช้บริการจาก คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่เปิดให้บริการนี้อยู่ และเราต้องกำหนดชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเข้าไปใช้บริการ Usenet ให้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวทราบก่อนเสมอ จึงจะไปดึงชื่อของกลุ่มข่าว และหัวข้อข่าวมาให้เราได้ อย่างไร ก็ตาม Usenet เป็นบริการที่ค่อนข้างจะแพร่หลายอย่างหนึ่งในอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Usenet อยู่หลายพันแห่งทั่วโลก ทำให้การเข้าไปใช้บริการ Usenet ทำได้ไม่ลำบากมากนัก คอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ให้บริการ Usenet จะเชื่อมต่อกันและรับส่ง ข่าวสารกันด้วยวิธีที่เรียกว่า Network News Transfer Protocol (NNTP) ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของโปรโตคอล TCP/IP ที่เราใช้รับส่งข้อมูลกันอยู่ ในเครือข่ายของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง เมื่อเราดูจากชื่อของกลุ่มข่าวสารนั้น ก็พอจะทราบได้อ่านหัวข้อข่าวในกลุ่มจะพูดถึงเรื่องอะไร และเกี่ยวข้องกับอะไร ซึ่งกลุ่มข่าวสารทั้งหมดมีอยู่หลายพันกลุ่มในทุกเรื่องที่มีผู้สนใจ รูปแบบของ News Articles ส่วนคือ ส่วนหัวหรือ Header ส่วนเนื้อข่าวหรือ Body และ ส่วนลงท้ายหรือ Signature ซึ่งแต่ละส่วนที่ประกอบกันเป็น ข่าวสารนั้นจะมีความหมายดังนี้คือ ส่วนหัวหรือ Header จะบอกถึงข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้น เช่น ่าวนี้มาจากใคร, อยู่ในหัวข้อข่าวเรื่องอะไร, ส่งมาจากที่ไหนและเป็นข่าวลงวันที่เท่าไหร่ ส่วนเนื้อข่าวหรือ Body เป็นข้อความบรรยายในส่วนของข่าวนั้นๆ ซึ่งอาจมีความยาวของเนื้อข่าวเพียงบรรทัดเดียว หรือมีเนื้อข่าวยาวหลายๆ หน้าก็ได้ เนื้อข่าวจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อข่าวและกลุ่มข่าวสารที่ได้รับการจัดกลุ่มเอาไว้เสมอ ส่วนลงท้ายหรือ ที่เรียกว่า Signature ส่วนลงท้ายนี้จะบอกถึงรายละเอียดของผู้ส่งข่าวชิ้นนี้ เช่นอาจจะบอกชื่อ นามสกุล E-mail address และข้อความลงท้ายข่าวนั้นๆ เครื่องที่ให้บริการ Usenet นั้นจะมีการจัดการกับข่าวที่เข้ามา โดยเมื่อได้รับข่าวเข้ามา ใหม่ ก็จะใส่หมายเลขประจำข่าวนั้นให้ หมายเลขที่ว่านี้จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 จากของเดิมที่มีอยู่ในแต่ละกลุ่มข่าว เช่น กลุ่มข่าวชื่อ comp.answers มีหัวข้อข่าวอยู่ 1720 ชิ้น เมื่อได้รับข่าวใหม่เข้ามา ข่าวชิ้นนั้นจะได้รับหมายเลขประจำข่าว เป็น 1721 และเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเลขสูงสุดที่ตั้งเอาไว้ก็จะวนกลับไปใช้เบอร์ 1 ใหม่ ข่าวที่ได้รับเข้ามา จะมีกำหนดหมดอายุตามที่คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Usenet ผู้กำหนดเอาไว้ เมื่อข่าวนั้นหมดอายุก็จะถูกลบออกจาก กลุ่มข่าวและหมายเลขประจำข่าวนั้นก็จะว่างลง แต่หมายเลขที่ว่างลงนี้จะยังไม่ถูกนำไปใช้ จนกว่าจะมีการวนกลับไป ที่เลข 1 ใหม่ก่อน ทำให้บางครั้งเมื่อเราเรียกดูหัวข้อข่าวจากกลุ่มข่าวสารใน Usenet จะเห็นหมายเลขประจำข่าวอาจ เริ่มต้นจาก 845 ไปถึง 1720 ก็ได้ ซึ่งหมายความว่าข่าวตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 844 หมดอายุและถูกลบออกจากคอมพิวเตอร์ไปแล้ว
Telnet ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป ก็สามารถใช้บริการ Telnet เพื่อเข้าใช้งานเครื่องดังกล่าวได้เหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง โดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเหมือน จอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ โปรแกรม Telnet นับได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับ การใช้งานอินเทอร์เน็ตในแบบตัวอักษร หน้าที่ของโปรแกรม Telnet นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ โดยเมื่อเราทำการ Login เข้าไปยังคอมพิวเตอร ์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแล้ว จะใช้คำสั่ง Telnet นี้เพื่อเข้าไป Login เครื่องอื่นๆ ได้ต่อไป โดยไม่จำเป็น ต้องยกเลิกการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเสียก่อน ซึ่งเมื่อ Login ไปยังเครื่องอื่นๆ ได้ ก็สามารถ ไปเรียกใช้บริการต่างๆ บนเครื่องเหล่านั้นได้ด้วย ทำไมต้องใช้ Telnet? โดยทั่วไปของการติดต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น หลังจากที่เราสมัครเข้าเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการ (ISP) แล้ว เราจะได้รับรหัสที่จะใช้ในการ Login เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นโฮสต์ของ ISP รายนั้นๆ ต่อจากนี้ถ้าหากเราต้อง การที่จะเข้าไปทำการ Login ต่อในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในเครือข่ายเราจะใช้คำสั่ง Telnet โดยระบุชื่อหรือแอด เดรสของคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง เราไม่จำเป็น ที่จะต้องใช้โมเด็มติดต่อโทรศัพท์ทางไกลไปยังต่างประเทศ เพียงแต่ Loginเข้าสู่คอมพิวเตอร์ต้นทางที่ต่ออยู่ในอินเทอร์เน็ตและใช้คำสั่ง Telnet เพื่อติดต่อผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ให้บริการ เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการ Telnet แก่ผู้ใช้ทั่วไปนั้น จะจัดเตรียมรหัส อินเทอร์เน็ตอย่าง กลางๆ ไว้ให้ผู้ใช้ทำการ Login เข้าไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น ระบบคอมพิวเตอร์ขององค์การการบินและอวกาศของสหรัฐ หรือ NASA ที่เรียกว่า NASA SPACELINK มีชื่อโดเมน spacelink.msfc.nasa.gov เมื่อผู้ใช้คำสั่ง Telnet จะสามารถ Login ด้วยรหัส guest (หมายถึง "แขกผู้มาเยือน") ซึ่งไม่ต้องมีรหัสผ่านหรือ Password เป็นต้น บางแห่งเมื่อใช้คำสั่ง Telnet ทำการ Login เข้าไปในระบบแล้วจะสามารถใช้บริการได้ทันทีโดยไม่ต้องคีย์รหัส Login เสียด้วยซ้ำไป ตัวอย่างเช่น books.com ฃึ่งเป็นบริการขายหนังสือ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถใช้คำสั่ง Telnet ติดต่อไปยัง books.com จากนั้นจะเข้าสู่ ระบบซึ่งจะให้บริการเป็นแบบ Bulletin Board ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะตรวจสอบรายละเอียดต่างๆของหนังสือ รวมทั้งสั่งซื้อเล่ม ที่ต้องการได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ในการใช้บริการอื่นๆอีกหลายอย่างในอินเทอร์เน็ต เช่น Gopher, Archie, World Wide Web (WWW) และบริการอื่นๆก็สามารถใช้ผ่านคำสั่ง Telnet เพื่อ Login เข้าสู่บริการนั้นในคอมพิวเตอร์ปลาย ทางได้เช่นกัน นอกจากนี้ในกรณีที่เราใช้งานอินเทอร์เน็ตในแบบกราฟิกอยู่ และต้องการจะใช้งานในแบบตัวอักษรก็ สามารถใช้การ Telnet เข้าไปยังเครื่องที่ต้องการจำลองเป็นเทอร์มินัล เมื่อเรียกใช้บริการต่างๆแบบตัวอักษรได้ เช่นการ เปลี่ยนรหัสผ่านหรือ Password ซึ่งต้องใช้คำสั่ง passwd ของ Unix เป็นต้น ก็จะต้องอาศัยการ Telnet ไปที่โลคัลโฮสต์ของเราก่อนเช่นกัน
ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหรือหัวข้อใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ในอินเทอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของขอมูลนั้นๆเก็บข้อมูลเพื่อ เผยแพร่เอาไว้มากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษาค้นคว้าและเตรียมข้อมูลลงได้มาก และเปรียบเสมือน มีห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที 1)FTP (File Transfer Protocol)FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้ม ีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่างๆ ไว้ ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก จะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเทอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูลเหล่าน ี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า "คัดลอก" ก็เพราะในทางปฏิบัติจริงๆ แล้วไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทางเครื่อง ของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการ คัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่วๆ ไปบนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมกว่า เหมาะ กับระบบเครือข่ายที่ต่อกันในระยะไกลๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความ ผิดพลาดต่างๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN) โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Shareware และ Commercialware
Freewareหมายถึงโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้ผู้อื่นถ่ายโอนไฟล์ไปใช้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ผู้ที่ถ่ายโอนไฟล ์ไปสามารถให้ผู้อื่นถ่ายโอนไฟล์ต่อไปได้อีกเช่นกัน แต่จะต้องไม่นำโปรแกรมนั้นไปขายโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้พัฒนาทราบ Shareware หมายถึง ประเภทของโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อตั้งใจจะขาย โดยอนุญาตให้ผู้ที่สนใจถ่ายโอนไฟล์โปรแกรมไปลอง ใช้งานก่อนโดยที่ยังไม่ต้องจ่ายเงิน เมื่อใช้แล้วชอบและต้องการซื้อก็ค่อยจ่ายเงินภายหลังซึ่งมักจะมีราคาไม่สูง Commercial ware หมายถึง ประเภทของโปรแกรมที่เราจะต้องจ่ายเงินซื้อก่อนจึงจะได้โปรแกรมนั้นมาใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้มักจะมีเพียง รายละเอียดให้ดูได้ในอินเทอร์เน็ต ไม่มีโปรแกรมตัวอย่างให้ถ่ายโอนไฟล์ ส่วนใหญ่โปรแกรมทั่วไปที่มีผู้นิยมถ่ายโอนไฟล์มาใช้มักจะเป็นประเภท Shareware เพราะราคาถูก เราสามารถลอง ใช้งานได้ก่อนที่จะซื้อ และผู้พัฒนาจะพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่องมากกว่าโปรแกรมประเภท Freeware ดังนั้น Shareware จึงได้รับความนิยมมากในโลกของอินเทอร์เน็ต ในการใช้คำสั่ง FTP เพื่อทำการถ่ายโอนไฟล์ เราสามารถ ทำได้ทั้งในการใช้บริการแบบตัวอักษรและแบบกราฟิก ซึ่งการทำงาน 2 แบบนี้จะมีความแตกต่างอยู่บ้าง โดยที่การใช้ คำสั่ง FTP ในแบบตัวอักษรนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นพีซี แมคอินทอช หรือเครื่องแบบอื่นใดก็ตาม ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกรวมๆ ว่า "คอมพิวเตอร์ของเรา" หรือ Workstation ("เวิร์กสเตชั่น") จะทำหน้าที่เป็นเพียงจอ เทอร์มินัลจอหนึ่งบนเครื่องของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เราติดต่ออยู่เท่านั้น ซึ่งเครื่องของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในที่นี้จะขอเรียกว่าเป็น "เซิฟเวอร์ของเรา" หรือ Local Server ("โลคัลเซิฟเวอร์") หรือ Local Host ("โลคัสโฮสต์") ดังนั้นการใช้คำสั่ง FTP จะเป็นการโอนไฟล์จากเครื่องที่เป็น FTP Server ทางอีกฟากหนึ่งของอินเทอร์เน็ต หรืออาจ เรียกว่าเป็น Remote Server ("รีโมตเซิฟเวอร์") หรือ Remote Host ("รีโมตโฮสต์") มายังโลคัลเซิฟเวอร์เท่านั้น หากจะนำไฟล์เหล่านั้นมาใช้งานก็จะต้องทำการโอนไฟล์จากโลคัลเซิฟเวอร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอีกทอดหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องใช้โปรโตคอลหรือคำสั่งอื่นที่ไม่ใช่ FTP เช่น sz, kermit เพื่อส่งไฟล์และ z, kermit เพื่อรับไฟล์ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากับโลคัลเซิฟเวอร์ไม่ได้ต่อกันด้วยโปรโตคอลแบบ TCP/IP แต่ถ้าใช้บริการอินเตอร ์เน็ตแบบกราฟิก เช่นใช้โปรแกรม WS_FTP ที่ทาง hg จัดเตรียมไว้ให้แล้วนั้น เราจะสามารถโอนไฟล์ข้อมูลจาก รีโมตเซิฟเวอร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้โดยตรง และในทำนองเดียวกัน การโอนไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของเรา ไปยังรีโมตเซิฟเวอร์ใดๆ ในการใช้บริการแบบตัวอักษรก็จะต้องโอนไฟล์ไปพักไว้ที่โลคัลเซิฟเวอร์ก่อนแล้วค่อยโอน ไฟล์ด้วยวิธีการ FTP ไปยังรีโมตเซิฟเวอร์อีกชั้นหนึ่ง2) Archie ผู้ใช้บริการจะทำตัวเสมือนเครื่องลูกข่ายที่เรียกเข้าไปใช้บริการของ Archie Server ซึ่งจะเสมือนกับได้ดูว่าสถานที่ซึ่งม ีข้อมูลที่ตนต้องการอยู่ที่ใดก่อน จากนั้นจึงเรียกค้นไปยังสถานที่นั้นโดยตรงต่อไป3)Gopherเป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบตามลำดับชั้น ซึ่งมีเมนูให้ใช้งานได้สะดวก โปรแกรม Gopher นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นท ี่มหาวิทยาลัยมิเนโซตา านข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบเป็นฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่หลายแห่งแต่มีการเชื่อมโยงถึงกันเป็นขั้นๆ4)Hytelnet เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้หาชื่อโฮสต์และชื่อ Login พร้อมคำอธิบายโดยย่อของแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยการใช้งาน แบบเมนู เมื่อได้ชื่อโฮสต์ที่ต้องการแล้วก็สามารถเรียกติดต่อไปได้ทันที แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ของบริการ Hytelnet นี้มักจะเป็นชื่อที่อยู่ของห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลก5)WAIS (Wide Area Information Service) เป็นบริการที่มีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลและดัชนีสำหรับค้นหาข้อมูลจำนวนมากเอาไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการค้นหาเมื่อเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลนั้น และยังมีการเชื่อมโยงกันไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นอีกปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลแบบ WAIS ให้ค้นหาได้หลายที่
6)World Wide Web (WWW หรือ Web หรือ W3) เครือข่ายใยแมงมุมเมื่อสักประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวกันว่า ประมาณการคร่าวๆ ว่ามีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 25 ล้านคน มีเพียง 2 ล้านคนเท่านั้น ที่ใช้เวิร์ล-ไวด์-เวบ ประมาณการอันนี ้ดูจะถูกลบล้างโดยสิ้นเชิง จากการบันทึก จำนวนครั้ง (hit) ที่มีผู้เข้าใช้เวบไซท์ของ Netscape ผู้เป็นเจ้าพ่อของโปรแกรมอ่านเวบเพจ เพราะในช่วงประมาณต้น ปีที่ผ่านไปนี้ มีผู้เข้าใช้มากถึง 35 พันล้านครั้งต่อหนึ่งวัน และจากสถติที่มีผู้รวบรวมไว้ แม่ข่ายบริการเวบเพจ หรือท ี่เรียกว่าเวบไซท์นั้น มีมากถึง 10 ล้านแห่งเข้าไปแล้ว เห็นได้ชัดว่า บริการเวิร์ลไวด์เวบ กำลังเติบโตในอัตราเร่งสูงสุด ถ้าจะให้จัดลำดับ บริการเวิร์ลไวด์เวบ มีผู้ใช้บริการมากรองเป็นอันดับสอง จากบริการอีเมล์เท่านั้นเอง จะไม่ให้มีผู้ใช้งาน และให้บริการมากมายขนาดนี้ได้อย่างไร ก็เพราะ บริการทั้งข้อมูลข่าวสาร ที่แต่เดิม ทำกันบนแม่ข่าย Telnet (ผ่านทางเมนู Gopher) และบริการไฟล์ที่ทำกันบนแม่ข่าย FTP ล้วนแล้วแต่สามารถให้บริการบนเวิร์ลไวด์เวบ ในรูปแบบที่สวยงาม และเข้าใจง่ายกว่ากันมาก แถมบริการเวิร์ลไวด์เวบ ยังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จนกระทั่งสามารถ สื่อสารกันด้วยมัลติมิเดีย และแม้แต่วิดิโอเต็มจอภาพได้ในอนาคต และที่สำคัญ เครื่องพีซีที่เชื่อมเข้าระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต กลายเป็นหน่วยหนึ่ง ของเครือข่ายในทันที ไม่ใช่เครื่องรีโมท ที่ขอเข้าไปใช้งานหน้าจอเครื่องลูก นเครือข่ายยูนิกซ์เหมือนอย่างแต่ก่อน ซึ่งนั่นก็คือ เครื่องพีซีที่ใช้บริการเวิร์ลไวด์เวบนั้น สามารถติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายทั่วโลกได้โดยตรง ด้วยศักยภาพเครื่องของตนเอง และด้วยโปรแกรมที่เรียกใช้งาน ตามที่ตนชอบและถนัด ไม่ต้องพึ่งพา อาศัยโปรแกรม ในเครือข่ายยูนิกซ์อีกเลย เวบ (Web) ก่อกำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี คศ. 1990 ที่ CERN ณ European Particle Physics Laboratory ในสวิตเซอร์แลนด์ ในปัจจุบัน มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า World Wide Web Consortium (W3C) คอยกำกับดูแลการเติบโตของเวบ Web Consortium ได้บัญญัติมาตรฐานขึ้นชุดหนึ่ง สำหรับการเพิ่มแม่ข่ายให้กับเวบ และเพื่อการสร้างหน้าจอของข่าวสาร ที่ปรากฏแก่สายตา ของผู้เข้าชมเวบ หน้าจอเหล่านี้เรียกว่า หน้าเอกสารหรือเพจ ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่มีรูปแบบเฉพาะ คือ HyperText Markup Language (HTML) โปรแกรมอ่านเวบเพจความจริงก็คือ โปรแกรมที่แปลผลรูปแบบของเอกสาร HTML และแปลผลคำสั่งที่บรรจุอยู่ ทั้งโปรแกรมอ่านเวบ และแม่ข่ายสื่อสารกัน ผ่านมาตรฐานอีกตัวหนึ่งคือ HyperText Transfer Protocol (HTTP) ซึ่งprotocol นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP เช่นกันWeb Consortium ได้ตีพิมพ์คุณลักษณะของ HTML และ HTTP ทำให้ทุกๆ คนบนอินเทอร์เน็ต สามารถสร้างเอกสารเวบได้อย่างสะดวกง่ายดาย การสร้างสิ่งพิมพ์เวบใหม่ที่ง่าย และเป็นแบบเปิดน ี้ ทำให้มีแหล่งข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ เอกสารเวบจำนวนมหาศาล และการเชื่อมโยงไปยังเครือ ข่ายมากมาย ถูกสร้างขึ้นจากสังคมอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่จากองค์การควบคุม Web แต่อย่างใด Hypertext และ HyperMedia ในเอกสาร HTML ฟีเจอร์ที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์เท็กซ์ เป็นวิธีการหนึ่งในการฝังการเชื่อมโยง จากหน้าเอกสารหนึ่งไปยังอีกเอกสารหนึ่ง การเชื่อมโยงเหล่านี้ แสดงอยู่ในโปรแกรมอ่านเวบเพจ บนวินโดวส์ด้วย คำที่มีสีโดดเด่นในหน้าเอกสาร โดยทั่วไป จะเป็นสีสว่างที่แตกต่างไปจากข้อความอื่นๆ เมื่อคลิกการเชื่อมโยง เอกสารหน้าอื่นก็จะปรากฏขึ้น และก็มีจุดเชื่อมโยงของมันเอง ปรากฏอยู่เพื่อเชื่อมไปยังเอกสารหน้าอื่นอีก บางครั้ง เราเรียกจุดเชื่อมเหล่านี้ว่า ฮอทลิงค์ หรือ ไฮเปอร์ลิงค์ ขณะที่เลื่อนตัวชี้เมาส์ ผ่านไปยังข้อความที่เป็นจุดเชื่อม รูปร่างของตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนไปเป็นรูปมือ เพื่อให้รู้ว่า คลิกที่ตรงนี้จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่น และ เมื่อกลับมาจากเอกสารหน้าที่เชื่อมไปถึง สีของข้อความจุดเชื่อมจะเปลี่ยนไปเป็นสีอื่น ที่ต่างไปจากเดิม เพื่อให้รู้ว่า จุดเชื่อมได้เคยเข้าไปชมมาแล้ว ทั้งนี้ เป็นผลพวงจากโปรแกรมอ่านเวบเพจตัวเก่งๆ ในปัจจุบัน การเชื่อมโยง ไปยังจุดอื่น บางครั้ง เป็นข้อความอีกตอนหนึ่งของหน้าเอกสารเดียวกัน ความสามารถนี้ เขาเรียกว่า เอนคอร์ เป็นการเชื่อมความหมาย ไปยังบางช่วงบางตอนของเอกสาร ที่มีความยาวค่อนข้างมาก ในระยะหลัง โดยเฉพาะ ตั้งแต่ปี คศ. 1993 เป็นต้นมา เมื่อโปรแกรมอ่านเวบเพจ ที่เป็นกราฟิกใช้งานกันแพร่หลายขึ้น จุดเชื่อมที่เป็น ไฮเปอร์เท็กซ์ ก็เริ่มมีการแต่งเติม ให้เป็นสื่อชนิดอื่น นอกเหนือจากข้อความ เช่น รูปภาพที่คลิกได้ เราเรียก จุดเชื่อมใหม่นี้ว่า ไฮเปอร์มีเดีย มันทำให้เอกสารเวบ กลายมาเป็นเอกสารกราฟิก และมัลติมิเดียโดยสมบูรณ์ เมื่อสื่อมีหลากหลายชนิดขึ้น เช่น ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดิโอ เป็นต้น ย่อมเป็นเรื่องยาก ที่จะหาฟอร์แมท มาตรฐาน สำหรับสื่อแต่ละชนิด ดังนั้น สื่อต่างๆ จึงมีฟอร์แมทหลากหลาย และนั่นหมายความว่า โปรแกรมอ่าน เวบเพจเอง ก็ต้องอาศัยโปรแกรมอ่านสื่อแต่ละชนิด ในการแปลผลสื่อต่างๆ ที่เชื่อมโยงเข้ามา โปรแกรมอ่าน เวบเพจ ทำงานในส่วนนี้ ได้โดยการเรียกใช้โปรแกรมอ่านไฟล์ (File Viewers) มาทำงาน หรือมิฉะนั้น ก็ผนวก เอาความสามารถ ในการอ่านไฟล์สื่อที่นิยมใช้ไว้ในตัวโปรแกรมเองเลยURL(Universal Resource Locators or Uniform Resource Locators ) ในโปรแกรมอ่านเวบเพจ ไม่ว่าตัวใด ต่างมีช่องให้เติมที่อยู่ของแหล่งข่าวสาร โดยมีรูปแบบของที่อยู่ที่เป็นสากล รู้จักกันในชื่อว่า URL ไม่ว่าแหล่งข่าวสารที่เป็นแม่ข่ายนั้น จะเป็นแม่ข่ายประเภทใด เช่น เวิร์ลไวล์เว็บ FTP, เมนู Gopher, นิวส์กรุ๊ปหรือ Telnet ก็สามารถเติมลงไปในช่อง URL เพื่อตรงไปหาได้ โดยที่อยู่ของแม่ข่ายต่างชนิดกัน จะมีรูปแบบขึ้นต้นต่างๆ กันไป แต่ที่เห็นได้ชัดก็คือว่า โปรแกรมอ่านเวบเพจนี้ ทำตัวเป็นหน้าฉากสำหรับเข้าไป ใช้บริการอื่นๆ เกือบทั้งหมดของอินเทอร์เน็ต โดยจะไปเรียกใช้โปรแกรม สำหรับบริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่เวิร์ลไวล์เว็บ ให้เอง เช่น Mail, News, FPT และ Telnet เป็นต้นURL ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 4 ส่วนดังต่อไปนี้ ชนิดของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (scheme) เช่น Web, FTP, Gopher, newsgroup เป็นต้น โดยมีคำขึ้นต้นในส่วนแรกนี้ดังนี้http สำหรับ Web ftp สำหรับ FTP gopher สำหรับ Gopher news สำหรับ Newsgroup โดยส่วนใหญ่ (สามรายการแรก) scheme จะต้องต่อท้ายด้วย :// เสมอ ยกเว้น news ให้ต่อท้ายด้วย : เท่านั้น เช่น news:rec.arts.theatre แอดเดรสแม่ข่าย (host) เป็นชื่อโดเมนของแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูล เช่น www.infonews.co.th พอร์ต (port) บางครั้ง หมายเลขพอร์ต อาจต้องระบุสำหรับแม่ข่ายบางแห่ง แต่ก็ไม่เสมอไป พาธ (path) หรือเส้นทางข้อมูล (ซับไดเรกทอรี) ความจริงแล้วก็คือ ชื่อของซับไดเรกทอรีของข้อมูลในเพจ ที่ต่อ มาจากโฮมเพจของเวบเพจนั้น รูปแบบมาตรฐานของ URL เป็นดังนี้ scheme://host:port/pathเช่น URL ชื่อ http://www.charnsak.co.th จะชี้ไปยังแม่ข่ายเวบ (http )ที่มีชื่อโดเมนว่า www.charnsak.co.th ถ้าเติมชื่อ URL นี้ลงในช่อง URL หรือ Address ในโปรแกรมอ่านเวบเพจ ก็จะตรงไปยังแหล่งข่าวสารของ Charnsak ในที่นี้ ไม่มีการระบุพอร์ต หรือพาธ คือเข้าไปที่โฮมเพจโดยตรงเลย โดย port มาตรฐานของ WWW คือ Port 80 อีกตัวอย่างหนึ่ง ftp://ftp.microsoft.com/win95/internet.doc จะดาวโหลดไฟล์ internet.doc จากไดเรกทอรี win95 บนแม่ข่าย FTP ของไมโครซอร์ฟ (ftp.microsoft.com) ชื่อใน URL ที่เป็นตัวใหญ่ และตัวตัวเล็กมีความหมายเฉพาะตัว ถ้าใส่ไม่ถูกต้องก็จะถูกฟ้องว่าหาไม่พบ เมื่อเข้าใจความหมายของ URL ตามนี้แล้ว ลองมาดูตัวเลขจำนวน URL ที่มีอย ู่ในขณะนี้ ซึ่งรวบรวมโดย Infoseek Ultra อันเป็น search engine ที่ดีที่สุดในขณะนี้ เท่าที่รวบรวมได้ล่าสุดนี้ มีชื่อ URL ที่ Infoseek Ultra รู้จักมากถึง 80 ล้านชื่อ แน่นอน ย่อมไม่ได้หมายความว่า มีเวบไซท์มากขนาดนั้น แต่แปลความได้ว่า มีข่าวสารแยกตามหัวข้อ หรือเพจได้มากขนาดนั้น คิดดูเอาเองก็แล้วกันว่า ถ้าต้องการอ่านข่าวสารทั้งหมด บนทางด่วน ข้อมูลสายอินเทอร์เน็ตนี้ จะต้องเกิดอีกกี่ชาติถึงจะพอ เครือข่ายใยแมงมุม การให้บริการข่าวสารเวิร์ลไวล์เว็บ ต่างจากบริการจากแม่ข่ายอื่นๆ ที่เคยกล่าวมา กล่าวคือ แต่ละแม่ข่าย มีข่าวสารข้อมูล ของตนเองเป็นสำคัญ และแม่ข่ายแต่ละแห่ง ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเลย คือไม่ต้องส่งข้อมูลให้ใคร และไม่ต้อง รับข้อมูลจากใครด้วย แต่ในหน้าเอกสารของแม่ข่ายเหล่านี้ หรือเรียกกันว่า เพจของเวบไซท์เหล่านี้ มีไฮเปอร์เท็กซ์ และไฮเปอร์มีเดีย ที่เป็นจุดเชื่อมโยงไปยังเวบไซท์อื่นๆ มากมาย และไซท์แต่ละแห่ง มักมีไฮเปอร์ลิงค์ ที่เชื่อมไปยังเวบไซท์ ที่ให้ข่าวสารในรูปแบบ และประเภทที่คล้ายคลึงกัน และเมื่อเราคลิกไฮเปอร์ลิงค์เหล่านั้น เข้าไปยังเวบไซท์ที่สนใจ ใ นเวบไซท์ใหม่ ก็จะมีไฮเปอร์ลิงค์อีกชุดหนึ่ง เพื่อเคลื่อนย้ายไปยังจุดอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ต จะเห็นว่า มีการประสานเชื่อมต่อกัน เป็นตาข่ายในลักษณะที่เหมือนๆ กับใยแมงมุมจริงๆ และจึงเป็นที่มาของชื่อเวบ (Web) สำหรับบริการข่าวสารในแบบนี้ Home Page โฮมเพจ เป็นคำที่พูดกันมากในการใช้บริการเวิร์ลไวล์เว็บ ความจริง โฮมเพจมีความหมายที่ต่างกันอยู่สองอย่าง อย่างแรก โฮมเพจ หมายถึงหน้าแรกของเว็บไซท์แต่ละแห่ง จากหน้าโฮมเพจหน้าแรกนี้ เมื่อเราเชื่อมจากไฮเปอร์ลิงค ์ไปยังหน้าอื่นๆ ของเอกสารนี้ เมื่อต้องการกลับมาตั้งต้นใหม่ ในเอกสารหน้าหลังๆ มักมีไฮเปอร์เท็กซ์ที่เป็นข้อความทำนองว่า "กลับไปยังโฮมเพจ" ให้เลือกเพื่อกลับไปตั้งต้นที่หน้าแรกเสมอ ทำให้การใช้งานเวบเพจ มีความเป็นระเบียบและไม่หลงทาง อีกความหมายหนึ่งของโฮมเพจ ก็คือ หน้าแรกที่เป็นหน้าเริ่มต้น ของการเข้าสู่การใช้บริการเวิร์ลไวด์เว็บ บนอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator ตั้งโฮมเพจของตนเองไว้ที่ home.netscape.com ส่วน Internet Explorer ก็ตั้งโฮมเพจไว้ที่ www.microsoft.com และมีปุ่ม Home ไว้ให้กดเวลาต้องการกลับมาเริ่มต้นใหม่ อย่างไรก็ตาม โฮมเพจของโปรแกรมสามาร ถติดตั้ง ให้เป็นเวบไซท์ที่เราต้องการตั้งต้น เมื่อแรกใช้บริการเวิร์ลไวด์เว็บ ในแต่ละครั้งก็ได้ ซึ่งโฮมเพจนี้ อาจเป็นเพจท ี่เราเขียนขึ้นเอง เพื่อใช้เป็นจุดตั้งต้น ในการเชื่อมไปยังเวบไซท์อื่นๆ ที่ชื่นชอบก็ได้ หาแหล่งข้อมูลเวบได้จากที่ไหน แหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต กระจัดกระจายกันอยู่ทั่วโลก และมีข้อมูลจากหลากหลายสาขา หากไม่ทราบว่า ข่าวสารที่ต้อง การอยู่ที่แหล่งใด ก็เป็นการยากที่จะเข้าถึงข้อมูล ที่ต้องการได้ในเวลาอันรวดเร็ว ในสมัยก่อน การค้นหาข้อมูลด้วยแหล่ง บริการอื่น บนโหมดเท็กซ์อาศัย Archie และ Veronica แต่ในปัจจุบัน การค้นหาแหล่งข้อมูล บนเครือข่ายใยแมงมุมนนี้ มีเวบไซท์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรชั้นยอด ในการค้นหาข้อมูลให้อย่างรวดเร็ว ชนิดที่ แทบไม่เชื่อสายตาตัวเองเลยก็แล้วกัน ยกตัวอย่าง search engine ที่กล่าวอ้างตนเองว่า ดีที่สุดในขณะนี้ คือ Infoseek Advanced Search ได้ติดตั้งแม่ข่ายที่เป็นเครื่อง ของ SUN ความเร็วสูง ใช้ซอร์ฟแวร์ค้นหาข้อความแบบ full text ที่มีความสามารถสูง ในขนาดที่แปลภาษาได้ในระดับหนึ่ง ทำให้การค้นหาตามข้อความ ที่ป้อนเข้ามา ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการ ได้มากที่สุด เช่น สามารถแยกแยะได้ว่า ข้อความที่ใช้ค้นเป็นชื่อคน หรือแยกชื่อกับนามสกุลที่เขียนติดกัน ออกโดยอัตโนมัติได้เอง มีความสามารถในการค้นคำด้วย บูลีน เช่น AND, OR, WITHOUT โดยใช้เป็นสัญญลักษณ์ +, - แทน ข้อความที่ใช้ค้นหานั้น ได้มาจากการทำดัชนีของคำในแบบ full text searching จากหน้าเอกสาร URL ที่เชื่อถือได้ 50 ล้านแห่ง (จากจำนวนทั้งหมด 80 ล้านแห่ง) การค้นหา สามารถค้นหาได้จากหน้าเอกสารทั้งหมด หรือค้นจากชื่อไซท์ ชื่อ URL หรือชื่อหัวเรื่องของหน้าเอกสารก็ได้ เมื่อได้ผลตอบรับจากการค้นหาแล้ว จะแสดงผล เป็นชื่อของเวบไซท์ที่มีข้อความที่ค้นหาตรงตามนั้น พร้อมข้อความขึ้นต้นย่อๆ สำหรับแหล่งข้อมูลนั้น การเข้าไปยังแหล่งที่ต้องการ ก็เพียงแต่คลิกลงไปที่ไฮเปอร์ลิงค์เท่านั้น ไม่มีเครื่องจักรค้นหาข้อมูลตัวไหน ที่สะดวกสบายเท่านี้อีกแล้ว ไม่ลองใช้วันนี้แล้วจะลองวันไหน ตัวอย่างเวบไซท์อื่น ที่ทำหน้าที่เป็นจักรกลในการค้นหาเช่นกัน ได้แก่ Excite, Lycos, Yahoo, Alta Vista เป็นต้น

0 ความคิดเห็น:


Free Blogspot Templates by Isnaini Dot Com and Bridal Dresses 2009.